ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารริมทาง (Street Food) ในยุค New normal ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สกนธ์ จุฬาสถิตย์ และเอก ชุณหชัชราชัย Stamford International University

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ อาหารริมทาง วิถีปกติใหม่ คุณภาพอาหาร คุณภาพการบริการ

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ส่งผลให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหาร ร้านอาหารริมทางซึ่งเป็นครัวของชุมชนได้รับผลกระทบโดยตรง จนต้องมีการปรับตัวทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการร้านค้า เมื่อร้านอาหารถูกสั่งปิดและไม่สามารถเปิดหน้าร้านได้ ทางออกที่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือการสั่งอาหารทางออนไลน์ เมื่อสถานการณ์ค่อยๆ กลับมาสู่สภาวะปกติ พฤติกรรมของผู้บริโภคก็ได้เปลี่ยนแปลงจากวิถีเดิมแล้ว บทความวิชาการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารริมทาง (Street Food) ในยุค New normal ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค ทัศนคติ คุณภาพของอาหารริมทาง คุณภาพการบริการของร้านอาหารริมทาง และการตัดสินใจซื้อ ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมผู้บริโภคแบบวิถีเดิมมาสู่รูปแบบวิถีใหม่ (New Normal)

            ดังนั้น ธุรกิจร้านอาหารริมทาง (Street Food) ควรที่จะนําผลการการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจ ปรับปรุงพัฒนาและกำหนดกลยุทธ์การตลาดในช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุค New Normal รวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถนําข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

References

กัญสพัฒน์ นับถือตรง. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 104-113.

กัสมีรัตน์ มะลูลีม. (2557). ปัจจัยความตระหนักในเครื่องหมายฮาลาล คุณภาพอาหาร ตราสินค้าของชาวอิสลาม และ

ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารที่ไม่มีตราฮาลาลบนบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคชาวมุสลิมใน

กรุงเทพมหานคร. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

จิรดา นาคฤทธิ์ และอนุพล ทองใหม่. (2560). หลักการตลาด (Principles of Marketing). สืบค้นวันที่ 12 กันยายน 2560 จาก https://jiradabbc.wordpress.com/e-b00k/

ฐานเศรษฐกิจ. (2565). ttb analytics คาดธุรกิจร้านอาหารปี 2565 ยังโตได้ 5.4%. สืบค้นวันที่ 12 กันยายน 2560 จาก https://www.thansettakij.com/finance/525467?fbclid=IwAR3SsphVogBFBsMPOnc9l0VVGZfmrpvGA9fLmv4EZhLurWV0Nrd41UbQXyk

ฑิตาพร รุ่งสถาพร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพิษณุโลก. [ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมการบริโภค: อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 255-264.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์พิศา สังข์สุวรรณ. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior). สืบค้นวันที่ 12 กันยายน 2560 จาก http://Pimpisasangsuwan.blogspot.com/2015/10/consumerbehavior.html

มาลี บุญศิริพันธ์. (2563). บัญญัติศัพท์ New Normal. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสภา.

ศรีมงคล เทพเรณู. (2559). พัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2562). อาหารริมทางที่ดีที่สุดใน Thai Civil Rights and Investigative Journalism (TCIJ). สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2562 จากhttps://www.tcijthai.com/news/2019/07/scoop/9191.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). ธุรกิจร้านอาหารปี 65 คาดพลิกกลับมาฟื้นตัวร้อยละ 5.0 – 9.9 การแพร่ระบาดของ Omicron และต้นทุนวัตถุดิบยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3299). สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2564 จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/restaurant-z3299.aspx?fbclid=IwAR0k6Jw9dEK_HxZk8hu-OsrjbRQi0ESBhz4-s3bn9pUWnISeGkVA61Y3P78

อรอุมา วงศางาม. (2556). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเบื้องต้น. สืบค้นวันที่ 10 เมษายน 2556

จาก http://slideplayer.in.th/slide/2086387/.

อุตสาหกรรมอาหาร. (2557). คุณภาพของอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร. สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม 2557

จาก https://www.siamglove.com/ถุงมือ/อุตสาหกรรมอาหาร.html

เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2563). การศึกษาการบริโภคอาหารริมทางในกรุงเทพมหานครและผลกระทบต่อทัศนคติและความตั้งใจแสดงพฤติกรรมของผู้บริโภค. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(1), 21-42.

Lee, Niode, Simonne, and Bruhn. (2012). Consumer perceptions on food safety in Asian and Mexican restaurants. Food Control. 26, 531-538.

Leedy, P. D., & Ormrod, J. E. (2015). Practical Research Planning and Design. Essex: Pearson Education Limited.

Nelson, D. L., & Quick, J. C. (1997). Organization. Behavior (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Snoj, B., Korda, A. P., & Mumel, D. (2004). The relationships among perceived quality, perceived risk and perceived product value. The Journal of Product and Brand Management, 13(2/3), 156-167.

Solomon, M. R. (1996). Consumer Behavior: Buying, Having, and Being: Prentice-Hall.

Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions. New York: The Free.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26