การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล (PrPE Model) โรงเรียนบ้านจันทัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

-

ผู้แต่ง

  • อัมรินทร์ จาระงับ -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม, การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิผล (PrPE Model) ของโรงเรียนบ้านจันทัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบ 2) เพื่อสร้างรูปแบบ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบและ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย มี 6 ขั้นตอน ใน 3 รอบ คือ R1D1, R2D2, และ R3D3 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตรวจสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมด้วยค่า E1/E2 และค่าที (t-test)

         ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

         1) ผลการการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน คือ มีรูปแบบจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเพื่อเลื่อนระดับชั้นและความจำมากกว่าความเข้าใจ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 4 งานในสถานศึกษา ที่เกิดประสิทธิผลและผลงานเชิงประจักษ์ที่เป็นรูปธรรมยังมีน้อย สภาพความต้องการของครูผู้สอนและนักเรียนที่ต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยที่ 3.76 และ 3.91 อยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้น คือ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนที่มีประสิทธิผล (PrPE Model) ของโรงเรียนบ้านจันทัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จัดทำขึ้นเป็นหนังสือคู่มือการบริหารสถานศึกษา มีเนื้อหาสำคัญประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอน 6 กระบวนการ คือ ขั้นตอน 1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problems: Pr) ขั้นตอน 2 การดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Participation: P) ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารสถานศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิผล 6 องค์ประกอบ คือ (1) การสร้างความตระหนัก (2) การสอนงานระบบพี่เลี้ยง (3) การลงมือปฏิบัติโดยใช้วงจรคุณภาพ (4) การสะท้อนผลการทำงานและต่อยอด (5) การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ (6) การสร้างทีมงานเครือข่าย และขั้นตอนที่ 3 ผลลัพธ์ (Effectiveness: E) ที่เกิดจากการนำรูปแบบไปใช้ ในสถานศึกษา 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพ จากการทดลองใช้รูปแบบ รอบที่ 1 พบว่า ด้านผลการดำเนินการมีผลการดำเนินการสูงกว่าด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รอบที่ 2 พบว่า ผลการดำเนินงาน 4 งานในสถานศึกษา บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และมีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ทั้งในด้านครูผู้สอน และสถานศึกษาเป็นโรงเรียนต้นแบบได้ 4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า ผลการประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบรอบที่ 1 พบว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 7.53 และรอบที่ 2 พบว่า ผลการประเมินหนังสือคู่มือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมที่ 4.65 และผลการประเมินความพึงพอใจ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยที่ 4.85 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

References

ต่อศักดิ์ บุญเสือ. (2556). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 8(2), 46.

ทรงพล เจริญคำ. (2552). รูปแบบความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[วิทยานิพนธ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนบ้านจันทัย. (2561). เอกสารรายงานประจำของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ประจำปี

การศึกษา 2561. เอกสารโรงเรียนลำดับที่ 1/2562, (7).

สะอาดลักษม์ จงคล้ายกลาง. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. [ดุษฎีนิพนธ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2) .

กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

Duke, D.L. (1987). School leadership and instructional improvement. New York: Random House.

Towards, R., David, H.K. & Peter, H. (1988). The Effective School. Oxford. Basie Blackwell Ldt.

Sergiovanni, T.J. (1980). Education Governance and Administrational. Englewood Cliffs, New

Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26