การศึกษาองค์ประกอบความพร้อมชุมชนสำหรับการพัฒนาชุมชนไปสู่การท่องเที่ยว กรณีศึกษา พื้นที่กลุ่มเขตธนบุรีเหนือ

ผู้แต่ง

  • ชัญญรัชต์ นิธิธีรพัชร์ และธนัยนันท์ ธนันท์ปพัฒน์ สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุมชนไปสู่การท่องเที่ยว พื้นที่กลุ่มเขตธนบุรีเหนือ องค์ประกอบความพร้อมชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบความพร้อมชุมชนในพื้นที่กลุ่มเขตธนบุรีเหนือสำหรับ
การพัฒนาชุมชนไปสู่การท่องเที่ยว ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่าง ๆ
ในพื้นที่กลุ่มเขตธนบุรีเหนือ จำนวน 400 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จากสูตรของ Khazanie กรณีที่ไม่ทราบขนาดของประชากรที่แน่นอนและไม่ทราบค่าสัดส่วนของประชากร จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ

ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของเกณฑ์การประเมินความพร้อมชุมชนที่มีต่อการพัฒนาชุมชนไปสู่การท่องเที่ยว โดยการสกัดตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระทั้งหมด และหมุนแกนเพื่อให้ตัวแปรทั้งหมดถูกจัดลงในองค์ประกอบที่เหมาะสมด้วยวิธี Varimax with Kaiser Normalization ซึ่งกำหนดให้ค่าไอเกนต้องมากกว่า 1 รวมถึงพิจารณาค่าความเข้ากันได้ของตัวแปร โดยเลือกค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า 0.300 และแต่ละองค์ประกอบต้องประกอบด้วยตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป สามารถจัดตัวแปร จำนวน 48 ตัวแปร เข้าสู่องค์ประกอบได้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการ วินัยชุมชน และการสื่อสาร 2) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกและความรู้ที่จำเป็น 3) คุณธรรมและความเป็นเจ้าของ 4) การปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ 5)  โครงสร้างพื้นฐานและความเป็นผู้นำ 6) การผลิตและการตลาด 7) ความต่อเนื่อง และ 8) ปัจจัยอื่น ๆ

References

กรุงเทพมหานคร. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาเชิงพื้นที่ กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ. สืบค้น วันที่ 15 มิถุนายน 2565 จาก https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000060/ITA/4/4.364.pdf

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Asare-Kyei, D., Renaud, F.G., Kloos, J., & Walz, Y. (2017). Development and validation of risk profiles of West African rural communities facing multiple natural hazards. PLoS ONE, 12(3). 45-60.

Benites-Lazaro, L.L., & Mello-Théry, N.A. (2019). Empowering communities? Local stakeholders’ participation in the clean development mechanism in Latin America. World Development, 114(C), 254-266.

Brett, J., Behfar, K., & Kern, M.C. (2006). Managing multicultural teams. Harvard Business Review, 84(11), 84-91.

Burns, N., & Grove, S. K. (1993). The practice of nursing research: conduct, critique, & utilization (4th ed.). Philadephia: W.B. Saunders Company.

Dimitriou, C.K. (2017). From theory to practice of ecotourism: major obstacles that stand in the way and best practices that lead to success. European Journal of Tourism, Hospitality and Recreation, 8(1), 26-37.

Gebrezgi, M.T., Trepka, M.J., Kidane, E.A. (2017). Barriers to and facilitators of hypertension management in Asmara, Eritrea: patients’ perspectives. Journal of Health Population and Nutrition, 36(11), 1-7.

Hair, J., Anderson, R., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.).

New Jersey: Upper Saddle River, Prentice-Hall.

Han, X., Chen, H., Huang, D., Fei, L., Cheng, C., Huang, H., Guo-Cheng, Y. & Guo, G. (2018). Home-country government support, interstate relations and the subsidiary performance of emerging market multinational enterprises. Journal of Business Research, 93, 160-172.

Kerlinger, F.N. (1986). Foundations of behavioral research (3rd ed.). USA: Hort, Rinehart and Winson.

Khazanie, R. (1996). Statistics in a world of applications (4th ed.). New York: Harper Collins.

Kruize, J.W., Wolfert, J., Scholten, H., Verdouw, C.N., Kassahun, A. & Beulens, A.J.M. (2018). A reference architecture for Farm Software Ecosystems. Computers & Electronics in Agriculture, 125, 12-28.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., & Parsons, M.A. (2011). Health promotion in nursing practice (6th ed.).

Boston: Pearson.

Shelley, K.D., Belete, Y.W., Phiri, S.C., Musonda, M., Kawesha, E.C.,Muleya, E.M., Chibawe, C.P., van den Broek, J.W., Vosburg, K.B. (2016). Implementation of the Community Health Assistant (CHA) cadre in Zambia: A process evaluation to guide future scale-up decisions. Journal of Community Health, 41(2), 398-408.

Stevens, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social sciences (3rd ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26