คุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนใน อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน จำแนกตาม เพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ซึ่งผลการทดสอบแบบสอบถามเท่ากับ 0.945 การวิจัยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 57.0 มีสถานภาพสมรสร้อยละ 41.5 มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่าร้อยละ 37.3 มีอายุระหว่าง 25-40 ปี ร้อยละ 41.5 มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน10,001-15,000 บาท ร้อยละ 42.3 องค์ประกอบโดยรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก 3.64 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของคุณภาพชีวิต ด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.71 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ตามด้วยด้านความสัมพันธ์ทางสังคม โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.64 (SD. 0.66) ส่วนคุณภาพชีวิตด้านร่างกายนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.64 (SD. 0.63) และคุณภาพชีวิตด้านจิตใจนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.58 (SD. 0. 68) ผลการทดสอบ t-test ของตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม นั้นไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ .881 และมีค่าทดสอบ t = -.152 สำหรับการทดสอบความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้เทคนิคการทดสอบแบบ One - Way ANOVA ตัวแปรต้น สถานภาพ ระดับวุฒิทางการศึกษา อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนตัวแปรตามนั้น คือ คุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ไม่พบความแตกต่างของแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). เรื่อง การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพ ฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี. (2557). เรื่อง ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้ง : บริบท ในสังคมไทย. รายงานการวิจัย. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช.
ภัทราภา สุขสง่า และ พรรณทิพา ศักด์ทอง. (2557). เรื่อง การทดสอบเบื้องต้นแบบประเมินผลลัพธ์ด้านการใช้ยาที่ได้จากการรายงานของผู้ป่วยสำหรับคุณภาพชีวิตด้านยาโดยใช้วิธีเชิงผสมผสาน. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 203-212.
พัชรี หล้าแหล่ง. (2556). เรื่อง การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาแม่โจ้ จังหวัดชุมพร.
วรานิษฐ์ ลำไย. (2557). เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา.มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต เฉลิมพล แจ่มจันทร์ กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และ จรัมพร โห้ลำยอง. (2556). เรื่อง คุณภาพชีวิต การทำงานและความสุข. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). เรื่อง เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา. (2563). เรื่อง การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนาประจำปี พ.ศ.2563. สุพรรณบุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา (2563).
Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). Summary the Twelfth National Economic and Social Development Plan. Retrieved January 5, 2019 from https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6421&filename=index.
Phrae Province Office. (2018). Phrae Provincial Development Plan 2018 - 2021. Phrae: Strategy and
Information for Provincial Development.
WHO QOL user manual [Internet]. (2012). World Health Organization. Division of mental health and prevention of substance abuse. Program on mental health: WHO QOL user manual [Internet]. 2012 [cited 2022 Feb 12]. Available from:
https:// www.who.int/tools/whoqol.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition, New York: Harper and. Row Publication.