การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H เพื่อส่งเสริม ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
reading skills, 5W1H Technique, Reading exercisesบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลของการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จาก 2 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมือง 8 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ประเภท
1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทักษะการอ่าน Enjoy reading (ก่อนเรียนและหลังเรียน) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการอ่านจำนวน 3 เล่ม เล่มละ 2 เรื่อง ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้เล่มละ 2 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย คะแนนร้อยละ เกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 2) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที (dependent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H สำหรับส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 91.12/83.75 แสดงว่าชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ก่อนเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ 10.95 คะแนน และหลังเรียน 16.75 คะแนน เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเมื่อเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กมลพร ทองนุช และ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2561). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 5W1H และการสอนปกติ. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กมลรัตน์ เทพิน. (2549). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ตามกระบวนการแลกเปลี่ยนบทบาทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กลุ่มยุทธศาสตร์การศึกษาสำนักงานศึกษาธิการภาค 10. (2564) รายงานวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET, V-NET และ N-NET ปีการศึกษา 2564 ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 10. สืบค้นวันที่ 22 ธันวาคม 2565, จาก https://reo10.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/06/ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน-ปีการศึกษา-2564.pdf
กาญจนา จันทะดวง. (2542). พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษ. สกลนคร: สถาบันราชภัฏสกลนคร.
ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2548). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: หลักพิมพ์.
ทักษพร โพธิ์เหมือน. (2561). การพัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 4W1H ส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ปัทมวรรณ ตระการไทย. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รัตติมา แผงอ่อน. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สาวิตรี มะดอมะ. (2564). การพัฒนาชุดนิทานคุณธรรมภาษาอังกฤษบูรณาการบริบทท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายจังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 16(3), 386-388.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการพัฒนาและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุทธินันท์ ศิริไทย. (2551). การสร้างชุดฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี.
อนุศิริ ชิณศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิค 4W1H ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเสาธงนอก. สืบค้นวันที่ 21 ธันวาคม 2565, จาก http://www.thaiedresearch.org/home/authorview/19035.
Alam, B. P. (2021). Short structured summary using 5W1H to improve 10th grade student’s writing competence. Research on English Language Teaching in Indonesia, 9(2), 1-9.
Duke, N. K. & Pearson, D. P. (2009). Effective Practices for Developing Reading Comprehension. Journal of Education, 189(1), 107-122.
Johnson, K. & Morrow, k. (1981). Communication in the classroom. England: Longman Group Ltd.
Kipling, R. (1912). Just so stories: The Elephant’s Child. United States (Garden city N.Y.) : The country life press.
Kuschel, S. G. (2022). Examining cognitive correlates and predictors of growth in reading fluency and comprehension for struggling readers receiving NILD education therapy. Degree of Doctor of Philosophy in Education, Regent University.