ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเสริมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ต่อทักษะกระบวนการทำงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชางานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
Project-based learning, BCG economic model, process skillsบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงานของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเสริมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG วิชางานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้โครงงานเป็นฐานเสริมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG วิชางานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเสริมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG วิชางานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฝ้าไร่วิทยา อำเภอเฝ้าไร่วิทยา จังหวัดหนองคาย จำนวน 21 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม มีแบบแผนการวิจัยใช้แบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเสริมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG แผนรายหน่วย 3 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง แบบประเมินทักษะกระบวนการทำงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ดำเนินการวิจัยใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวนเป็น 12 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ t-test ไม่อิสระ (t-test for dependent Samples)
ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทำงานหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเสริมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG คะแนนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.84 คิดเป็นร้อยละ 89.20 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 15.14 และคะแนนหลังเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 24.80 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเสริมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อยู่ในระดับดีมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จารุวรรณ ไร่ขาม. (2559). การพัฒนาผลการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องการทำปลาส้มไร้ก้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). สอนประวัติศาสตร์ให้เด็กมีความสุข สนุกคิด. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.
ถวัลย์ มาศจรัส และมณี เรืองขำ. (2549). นวัตกรรมชุด แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงงาน (Project). กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปาณินันท์ แตพรม. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อทักษะปฏิบัติและเจตคติต่อการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
พรพิมล แก้วมงคล. (2565, 30 พฤษภาคม). ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ. สัมภาษณ์.
รอวีย๊ะ หะยีอิบร้อเหม, นงนภัสส์ มากชูชิต และชุติมา ทัศโร. (2561). ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทำงาน รายวิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนใน กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
รักษณาลี สวนพลู. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการทำงานในรายวิชาการงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โรงเรียนเฝ้าไร่วิทยา. (2564). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเฝ้าไร่วิทยา พุทธศักราช 2564. หนองคาย: โรงเรียนเฝ้าไร่วิทยา.
วรายุ ปักษา. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทำงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง การเพาะเห็ดนางฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วุฒิชัย ภูดี. (2566). การพัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของผู้เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาแบบ 6E ร่วมกับโมเดลเศรษฐกิจ บีซีจี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านคำพอกท่าดอกแก้ว. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตรศึกษา, 6(1), 105-119.
สถาพร เรืองรุ่ง. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน STEM BCG เพื่อแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ไขปัญหา วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตรศึกษา, 6(1), 150-160.
สมพร ปานดำ. (2564). BCG Model กับอาชีวศึกษาไทย. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวไทยภาคใต้ 1, 6(2), 21-22.
สรเดช เลิศวัฒนาวนิช. (2560). การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและคุณลักษณะในการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.