การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดโครงการครูสังคมอาสาเพื่อพัฒนา โรงเรียนบัวน้อยวิทยาปลอดขยะของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา โรจนแสง -

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ภาคีเครือข่าย, จิตอาสา, การเรียนรู้จากการให้บริการสังคม, นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเปรียบเทียบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดโครงการครูสังคมอาสาเพื่อพัฒนาโรงเรียนบัวน้อยวิทยาปลอดขยะของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่มีส่วนร่วม และสถานะที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม เป็นการวิจัยแบบสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา อาจารย์สาขาวิชาสังคมศึกษา บุคลากรโรงเรียนบัวน้อยวิทยา และนักเรียนโรงเรียนบัวน้อยวิทยา จํานวน 118 คน ที่มาจากการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสําเร็จรูปของ Krecie และ Morgan (1970) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และใช้ LSD ทดสอบความแตกต่างรายคู่ หากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดโครงการครูสังคมอาสาเพื่อพัฒนาโรงเรียนบัวน้อยวิทยาปลอดขยะ โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดองค์กร ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผน ด้านการบังคับบัญชา และด้านการควบคุม 2) การเปรียบเทียบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดโครงการครูสังคมอาสาเพื่อพัฒนาโรงเรียนบัวน้อยวิทยาปลอดขยะ พบว่า เพศ และระยะเวลาที่มีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการไม่แตกต่างกัน แต่อายุ และสถานะที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นการเปิดโอกาสให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะของการรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ตลอดจนการประเมินผลให้ทุกฝ่ายได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ

References

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1342-1354.

ชิดชนก เจริญมงคลการ. (2561). แนวทางการบริหารจัดการด้านจิตอาสาสโมสรอินเตอร์แรคท์ภาค 3350 ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ญาณิศา โคคะมาย และวีรพล วีรพลางกูร. (2562). การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 3(2), 12-29.

ธัญลักษณ์ กาวิชา. (2562). หลักธรรมาภิบาลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2560. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 25(1), 118-132.

บุษยมาศย์ เดชคง และศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2563). การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566, จาก http://ea.grad.ssru.ac.th/useruploads/files/20200718/ee6cca74f7ebcf 94a927b0c43184f3f2e645a077.pdf.

ปัณณทัต บนขุนทด, ริรร์ พิมมานุรักษ์, ธนัชพร หาได้ และสันติ คู่กระสังข์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 219-222.

พระมหาวิชาญ กนฺตสีโล, พระครูบวร ชัยวัฒน์, บุญส่ง ทองเอียง, พระครูสมุห์รณสิทธิ์ วิมโล และเดชชาติ ตรีทรัพย์. (2562). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราชศูนย์ประสานงานจังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2561. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4). 1913-1932.

โสพิณ เจตนา, พีระพงศ์ ภักคีรี และปะการัง ชื่นจิตร. (2563). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนในพื้นที่เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.islocal.ru.ac.th/pdffile/ is164/6314880019.pdf.

อธิมาตร เพิ่มพูน, วันชัย สุขตาม และจิรายุ ทรัพย์สิน. (2563). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 43-56.

อมรรัตน์ โคตรชมภู และภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2561). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 220-231.

Aguirre, A., Moliner, L., & Traver, J. A. (2019). Autonomous participation. An activist ethnography in Maranya Youth Club. Ethnography and Education, 15(1), 1-17.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper and Collins.

Fayol, H. (1997). General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Torrena, L.R. (2020). Stakeholders’ Participation in School Activities in Public Secondary Schools in Los Baños, Laguna. Asian Journal of Social Sciences and Management Studies, 7(3), 208-218.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-25 — Updated on 2023-06-28

Versions