ศึกษาความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินต่อคุณภาพของข้อมูลทางการเงิน

The Study expectations of users financial reporting on financial reporting quality

ผู้แต่ง

  • สุภาพ อัครปทุมวงศ์ , กฤษฎา สังขมณี, ปราณี ตรีทศกุล, อโนชา โรจนพานิช, หุดา วงษ์ยิ้ม, รุ่งลักษมี รอดขำ, วรางคณา จิตราภัณฑ์, อภิญญา วิเศษสิงห์ และขวัญฉัตร วงศ์จันทร์ทิพย์ -

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, คุณภาพข้อมูลทางการเงิน, ผู้ใช้รายงานทางการเงิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินต่อคุณภาพของข้อมูลทางการเงินพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร” โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้รายงานทางการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินต่อคุณภาพของข้อมูลทางการเงิน และเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินกับปัจจัยส่วนบุคคล ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวนทั้งสิ้น 74 ชุด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA) และหาผลแตกต่างเมื่อพบจึงทดสอบค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณ (Multiple Comparison) โดย Post Hoc Tests
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้รายงานทางการเงินส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 41 - 50 ปี มากที่สุด ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 15 ปี ประเภทธุรกิจของผู้ใช้รายงานทางการเงินส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงิน รูปแบบธุรกิจเป็นแบบบริษัทจำกัด และเป็นผู้บริหารขององค์กร โดยพบว่า 1) ระดับความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินต่อคุณภาพของข้อมูลทางการเงินเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้านความทันเวลามาเป็นอันดับ 1 ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.30 ซึ่งเป็นข้อมูลทางการเงินมีการบันทึกได้ทันตามรอบระยะเวลาบัญชีต่างๆ ที่กำหนดไว้ และนำข้อมูลไปในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเวลา 2) การวิเคราะห์การเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ใช้รายงานการเงินต่อคุณภาพข้อมูลทางการเงิน พบว่า ผู้ใช้รายการทางการเงินที่มีประสบการณ์แตกต่างกันมีความคาดหวังต่อคุณภาพข้อมูลทางการเงินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

เอกสารอ้างอิง (References)

นุชจรี พิเชฐกุล. (2559). รายงานการเงินและการวิเคราะห์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1.บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด. กรุงเทพฯ.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาส. (2559). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด. กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี.(2563). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน. สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ

ยุทธศาสตร์ชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคัมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.

วริศรา เหล่าบํารุง. (2559). บุพปัจจัยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอมที่มีผลต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง. 5(1), 42-52.

อโนชา โรจนพานิช และคณะ. (2563). ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.

Karagül, A.A. & Özdemir, A. (2012). Evaluation of Financial Information Quality Attributes:

A Comparison from Turkey. International Journal of Business and Social Science, 3(23), 45-55.

Mbawuni, J. (2019). Users’ Perception of Financial Reporting Quality in Ghana. Accounting

and Finance Research, 8(3), 187.

Vroom, H.V. (1964). Working and Motivation. New York: John Wiley and Sons Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29