ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตูมสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม, แรงจูงใจในการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตูมสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตูมสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 และ3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตูมสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตูมสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 41 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .95 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูจำนวน 72 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตูมสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตูมสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตูมสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
ขวัญใจ เกตุอุดม. (2554) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
จอมพงศ์ มงคลวานิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โชติ บดีรัฐ. (2558). เทคนิคการบริหาร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. บริษัท วี.พริ้นท์.
ธัญมาส โรจนานนท์. (2557). ภาวะผู้นำแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานกรณีศึกษาบริษัทซิลลิคฟาร์มา จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นารินทิพย์ สิงห์งอย. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการจูงใจในการ
ปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1. (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). ทริปเปิ้ลกรุ๊ป จํากัด.
บุษยมาศ ผาดี. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ปราณี เข็มทอง. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก.
หน้า 12
พิชาภพ พันธูเทพ. (2555). ผู้นำกับการจัดการเปลี่ยนแปลง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์แห่งมหาวิทยาลัย.
พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์. (2555). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นํา ทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สํานักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ ช้างอยู่. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). ทิพยาสุทธิ์.
สัมมา รธนิธย์. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ข้าวฟ่าง.
สุรพล เพชร ไกร. (2554). เทคนิคการจูงใจ. เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง
สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). บรรณกิจ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. (2565). ข้อมูลพื้นฐานอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3.
อรทัย สุวรรณมณี. (2563) . ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสตูล. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อรพรรณ เที่ยงคันฉัตร. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
Krejcie, R., V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and
Psychological Measurement.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and
Measurement. New York: Wiley & Son.
Yukl, G. (2006). Leadership in Organization. (6st published). New Jersey: Pearson Education.