ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการทางการเงิน ผ่านแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ ของลูกค้าในจังหวัดกาญจนบุรี

-

ผู้แต่ง

  • นิภาพร สุฐมานนท์ -

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการใช้บริการทางการเงิน, แอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการใช้บริการทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ ของลูกค้าจังหวัดกาญจนบุรี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ ของลูกค้าจังหวัดกาญจนบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ลูกค้าของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดกาญจนบุรี ที่ใช้บริการแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ( -Test)

   ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้บริการแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ ของลูกค้าของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่เคยใช้บริการมาแล้วมากกว่า 1 ปี ความถี่ที่ใช้มากกว่า 5 ครั้ง/เดือน โดยส่วนใหญ่ใช้บริการโอนเงินและชำระค่าสินค้า/บริการ เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว ตัดสินใจใช้บริการด้วยตนเอง ช่วงเวลาที่ใช้บริการคือ 13.01 น.- 18.00 น. ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ศึกษาและเรียนรู้วิธีการใช้งานด้วยตัวเอง โดยใช้ระยะเวลาแต่ละครั้งน้อยกว่า 5 นาที ปัญหาในการใช้บริการที่พบมากที่สุด คือ ระบบขัดข้องบ่อย และการเข้าถึงข้อมูลช้า และลูกค้าส่วนใหญ่คิดจะใช้บริการมากขึ้นในอนาคต 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการใช้บริการทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ ของลูกค้าจังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.33) ในรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน ได้แก่ ด้านราคา ( = 4.47) ด้านลักษณะทางกายภาพ ( = 4.39) ด้านผลิตภัณฑ์   ( = 4.36) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ( =4.34) ด้านกระบวนการให้บริการ ( =4.33) ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ( =4.32) และด้านการส่งเสริมการตลาด ( =4.10) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ มากที่สุดคือ อาชีพ รองลงมา คือ อายุ และระดับการศึกษา ตามลำดับ 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ มากที่สุดคือ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ รองลงมา คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ

References

กนกวรรณ ติมานนท์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอำเภอปากช่อง จังหวังนครราชสีมา. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กุลยะรัตน์ จอมพงศ์. (2558). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตในกลุ่มลูกค้าเจนเนอเรชั่นวาย ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเเขตอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชลกนก เพ็ชรสุทธิ์. (2561). คุณภาพการบริการของแอปพลิเคชั่นกรุงไทย เน็กซ์ ธนาคารกรุงไทย จังหวัดยะลา. (บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชายสินธุ์ ทันใจ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ของลูกค้าธนาคารกรุงไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). ธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการ Mobile banking และ Internet banking. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562. จาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=688&language=TH.

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2018. สืบค้นวันที่ 19 ตุลาคม 2562, จาก https:// www.ktb.co.th/Download/investorrelations/InvestorRelationsDownload_64TH_KTB_Annual_Report_2018_1.

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). (2562ก). Krungthai NEXT. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562, จาก https://www. ktb.co.th/th/content/personal/krungthai-next.

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). (2562ข). รายงานจำนวนผู้ใช้บริการ แอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์. (รายงานจากระบบอินทราเน็ตของธนาคาร).

นาเดีย ดางีดิง. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการเลือกใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เขตพื้นที่พระราม 9 กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

นุชนาฏ สุทธิวงษ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจเลือกใช้บริการการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

ปวิตรา สอนดี. (2560). การยอมรับนวัตกรรม โมบายแบงค์กิ้ง แอพพลิเคชั่น (Mobile Banking Application) ของกลุ่มผู้ใช้งาน ที่มีอายุ 40-60 ปี. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มณทิรา น้อยจีน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Krungthai NEXT ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณพร หวลมานพ. (2558). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้แอพพลิเคชั่เคโมบายแบงก์กิ้งพลัสของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรินประภา พันธ์ไชย. (2556). ทัศนคติการใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ต ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอ.

เมืองจังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น .

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และไซแท็กซ์.

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2562). คนกรุงนิยมใช้ Mobile Banking App. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2562, จาก https://www.innnews.co.th/economy/news_397757/

Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-25