การบริหารต้นทุนและผลตอบแทนสมัยใหม่ของเกษตรกรผู้ปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งในเชิงเศษฐกิจและสังคม จังหวัดกาฬสินธุ์

Research articles in business administration

ผู้แต่ง

  • มารุต พลรักษา และจุฑามาศ สุนทร -

คำสำคัญ:

การบริหารต้นทุนและผลตอบแทน, พุทราพันธ์นมสด, ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคม

บทคัดย่อ

           พุทรานมบ้านโพนแบบกางมุ้งเป็นพืชเศษฐกิจสำคัญที่ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ การบริหารต้นทุนที่ดีจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประโยชน์เชิงเศษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 177 คน สำหรับรอบการปลูกปีการผลิต 2564 ระยะเวลาการศึกษา 6 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการศึกษาพบว่า 1) ประโยชน์เชิงเศษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการปลูกพุทราพันธ์นมสดแบบกางมุ้งของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์อยู่ในระดับมากที่สุด สภาพเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของชุมชนดีขึ้น ( = 4.84) รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ร่วมกันทางด้านตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80) 2) รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรจากการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งในหนึ่งฤดูการผลิต ระยะเวลา 4 เดือน ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์ (ปีที่ 3) จำนวน 187,000 บาทต่อไร่ ต้นทุนรวมในการผลิตเฉลี่ยจากการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว (ปีที่ 3) จำนวนทั้งสิ้น 124,611.78 บาทต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกรจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยในการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งในฤดูการผลิต (ปีที่ 3) จำนวนทั้งสิ้น 62,888.22 บาทต่อไร่ และหน่วยงานภาครัฐควรเร่งส่งเสริมเพื่อเพิ่มมูลค่าของการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งเพื่อมุ่งไปสู่พืชเศรษฐกิจระดับประเทศ

References

กรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน. (2564). ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10). สืบค้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก https://legal.labour.go.th/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก. สืบค้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.bot.or.th/

ธนิดา จิตร์น้อมรัตน์. (2556). การบัญชีเพื่อการจัดการ : เครื่องมือสำคัญสำหรับผู้บริหารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิรชา สิงห์คำ. (2561). เกษตรกร จังหวัดกาฬสินธุ์ ปลูกพุทรากางมุ้ง ฉีดนมสดเพิ่มความอร่อย เด็ดกินสดจากต้นได้เลย. (ออนไลน์).สืบค้นวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.sentangsedtee.com/career-channel/article_66564.

บังอร บังใบ และกัญญารัตน์ กลีบประยูร. (2563). การปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงกุ้งก้ามกรามระหว่างวิธีเลี้ยงแบบเดี่ยวกับวิธีการเลี้ยงแบบผสมผสาน. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2(1), 4-20.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

พิรานันท์ ยาวิจัย, จุฑามาศ วงษ์แก้ว, ฐิติมา ทรงคำ และธีราลักษณ์ สัจจะวาที. (2561). ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวพันธุ์ กข15 ของเกษตรในเขตหมู่บ้านโป่งศรีนคร ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 10(1), 7-24.

สุพรรษา ไวอติวัฒน์ และกัญญารัตน์ กลีบประยูร. (2563). การปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงกุ้งก้ามกรามระหว่างวิธีเลี้ยงแบบเดี่ยวกับวิธีการเลี้ยงแบบผสมผสาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 9(1), 4-20.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). ต้นทุนผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือในเชิงเศรษฐกิจและสังคม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปกร, 36(3), 169-185.

สุรัตน์ ยาสิทธิ์ และรังสิมา กันธิวาส. (2560). ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์จากไม้สักของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแกะสลักไม้บ้านโรงวัว ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4, 911-916.

Yamane, Taro.1967. Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York : Harper and Row.

Yates, B. T., & Marra, M. (2017). Social Return On Investment (SROI) Problems, solutions and is SROI a good investment?. Evaluation and Program Planning, 64, 136–144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29