การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งจากมะเดื่อฝรั่ง

ผู้แต่ง

  • ศิริฉาย เปี้ยตั๋น , ชนัญพัทธ์ โปธามูล, และวรวลัญช์ วงค์ชมภู cmvc

คำสำคัญ:

ธัญพืช, ธัญพืชอัดแท่ง, มะเดื่อฝรั่ง

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งเสริมมะเดื่อฝรั่ง และเพื่อศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคของผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งเสริมมะเดื่อฝรั่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคทั่วไปที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 50 คน จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
           โดยการพัฒนามี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสูตรพื้นฐาน พบว่า สูตรพื้นฐานที่ 1 ได้รับคะแนนความชอบสูงสุดในทุกด้าน และมีคะแนนความชอบรวมอยู่ในระดับชอบมาก (7.70) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งเสริมมะเดื่อฝรั่งที่ผู้บริโภคยอมรับ โดยการเติมเนื้อมะเดื่อฝรั่งที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 12.5, 25, 37.5 และ 50 ต่อน้ำหนักทั้งหมด จากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า สูตรที่มีการเติมเนื้อมะเดื่อฝรั่ง ร้อยละ 37.5 (สูตรที่ 3) ได้รับคะแนนความชอบสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยด้านปัจจัยคุณภาพ ดังนี้ ลักษณะที่ปรากฏ (7.30) สี (7.77) รสชาติ (7.82) ลักษณะเนื้อสัมผัส (7.75) และ ความชอบโดยรวม (7.72) เมื่อนำไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า ค่าสี L* เท่ากับ 51.08 ค่า a* เท่ากับ 32.02 ค่า b* เท่ากับ 28.82 คุณภาพทางเคมี พบว่า ค่าความชื้น ร้อยละ 5.32 ค่าความเป็นกรด (pH) เท่ากับ 6.97 และมีค่าความหวาน เท่ากับ 2.17 ºBrix และคุณภาพด้านจุลินทรีย์ พบว่า ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด เท่ากับ 2.4 x 102 CFU/g

References

ชลธิชา นิวาสประกฤติ และ บุญเรียม น้อยชุมแพ. (2558). มะเดื่อฝรั่ง สุมนไพรไทย ของดีที่มีอยู่. วิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี 30(3): 31-34.

ณรงค์ชัย พิพัฒนธวงศ์, เบญจารัด ทองยืน และ สาวิตรี ทิวงศ์. (2552). การปรับปรุงพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 1

ตุลาคม 2566. จาก http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/52/04-plant/Narongchai/plant_00.html.

ดนัย บุณยเกียรติ และ ชัยพิชิต เชื้อเมืองพาน. (2561). การยืดอายุการวางจําหน่ายผลมะเดื่อฝรั่งโดยการควบคุมบรรยากาศ.

สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 จาก https://archive.lib.cmu.ac.th/full/rpf/2561/rpf223-61.pdf.

ทุติยาภรณ์ จิตตะปาโล, วราภรณ์ วิทยาภรณ์ และวีระพงค์ วิรุฬห์ธนกฤษณ์. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชแท่งจากข้าว

กล้องอินทรีย์หัก. วารสารอาหาร สุขภาพ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมขีวภาพ 10(3): 47-68.

วีรภัทร ปั้นฉาย และนพพร บุญปลอด. (2564). การเจริญและการพัฒนาของผลมะเดื่อฝรั่งสายพันธุ์ Black Genoa ที่ปลูกใน

จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Agri. Research & Extension 38(1): 1-11.

สิรินทร์ยา พูลเทิด, อภิชาต จำรัสสฤทธิ์รงค์, รศรินทร์ เกรย์, สาสินี เทพสุวรรณ์, และ ณัฐจิรา ทองเจริญชูพงศ์. (2562).

รายงานโครงการติดตามพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของคนไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุพัตตรา โพธิ์สวัสดิ์. (2557). อาหารว่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565.จาก https://snack57.wordpress.com.

สุพัตรา พูลพืชชนม์ และ สายใจ จริยเอกภาส. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้บาร์ผสมมะเดื่อฝรั่ง (Ficus carica L.)

อบแห้ง. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 "ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศ

ไทย 4.0. 112-123.

สุธิดา กิจจาวรเสถียร. (2553). ผลิตภัณฑ์ธัญชาติผสมใบชะพูอัดแท่ง. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรม

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุนทร ตรีนันทวัน. (2553). มะเดื่อฝรั่งในเมืองไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 จาก

https://www.scimath.org/article-biology/item/553-ficus-casica-linn.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2562). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผัก ผลไม้ และธัญชาติอบแห้ง. มผช. 902/2562.

สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29