ความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการใช้ออนไลน์แอปพลิเคชันติดต่อ กับองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
ออนไลน์แอปพลิเคชัน, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
ออนไลน์แอปพลิเคชั่นมีการใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งทางสื่อสังคม การติดต่อทางธุรกิจ และทางภาครัฐ การวัดประสิทธิผลของการใช้ออนไลน์แอพพลิเคชั่นมีอยู่จำกัด วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการใช้ออนไลน์แอปพลิเคชั่นติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการใช้ออนไลน์แอปพลิเคชั่นติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตาม เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอายุ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน โดยการคำนวณจากตารางสำเร็จรูป (Yamane, 1973) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในเขตจังหวัดนครนายก เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ ตามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.873 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และใช้สถิติ One-way ANOVA
ผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 56.6 มีสถานภาพสมรสร้อยละ 38.1 มีระดับการศึกษาปริญญาตรีร้อยละ 36.3 และมีอายุระหว่าง 36-50 ปี ร้อยละ 35.8 สำหรับค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและองค์ประกอบกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม ระดับการประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.66 (SD. 0.484) ซึ่งอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบด้านความพึงพอใจของคุณภาพการให้บริการมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.72 (SD. 0.677) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ตามด้วยด้านประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.70 (SD. 0.611) ลำดับที่สามคือด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 (SD. 0.614) ลำดับสุดท้ายคือด้านการปรับตัวของผู้ติดต่อสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.58 (SD. 0.681) ผลการทดสอบ t-test ของตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม นั้นไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .335 ซึ่งสูงกว่าระดับ .05 การทดสอบความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้เทคนิคการทดสอบแบบ One - Way ANOVA ตัวแปรต้น ด้านสถานภาพ ด้านระดับการศึกษา ด้านอายุ ส่วนตัวแปรตามนั้นคือด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการใช้ออนไลน์แอปพลิเคชั่นติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบล ไม่พบความแตกต่างของแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
กชพรรณ สินธุฉาย และวลัยพร ชิณศรี. (2566). แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิผลจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริการสาธารณะ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(4).
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2556). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.dla.go.th/work/abt/
กีรติวรรณ กัลยาณมิตร. (2559). ประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 6(2).
ชนิษฏา กลีบยี่สุ่น. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในการเข้าถึงข้อมูลด้านศัลยกรรมความงามของผู้บริโภค. สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
นันทะ บุตรน้อย กาญจนา คุมา และ สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา. (2563). เรื่อง ผลกระทบของการปรับเปลี่ยน สู่การเป็นองค์กรดิจิทัลต่อการพัฒนาการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564. จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/col kujournals/article/view/246201/168826.
บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. (2560). เรื่อง การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564. จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title= การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). เรื่อง การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพ ฯ : สุวีริยาสาส์น.
วรานิษฐ์ ลำไย. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่ภาค
ตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศศิพันธ์ นิตยะประภา. (2558). การใช้งานได้ของเว็บไซต์: Web Usability. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 11(2), 70-87.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). ร้อยละของสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการใช้ คอมพิวเตอร์และ
อินเตอร์เน็ต. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563. จาก
https://data.go.th/dataset/nso-ict481?id=a216580f-c79b-41b6-995a34366aa7ab27&is_fullscreen=1.
สุภาภรณ์ สีสุพรรณ์ และอจิรภาส์ เพียรขุนทด. (2565). การปรับตัวเพื่อเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นองค์กรดิจิทัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(8).
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). (2564). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ ประเทศไทยพ.ศ. 2563-2565.
ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2564, จาก
https://www.dga.or.th/policystandard/policy-regulation/dga-019/dga-024/dga-029/.
อุมาพร กาญจนคลอด วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข. (2559). ประสิทธิผลในการจัดการนวัตกรรมของเทศบาลใน
ประเทศไทย. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(2).
Michel, J. W., Tews, M. J., & Allen, D. G. (2019). Fun in the workplace: A review and expanded
theoretical perspective. Human Resource Management Review, 29(1), 98–110.
Retrieved from https://doi.org/10.1016/
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rd. New York: Harper and. Row Publication.