รูปแบบความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม กรณีศึกษา โคกหนองนา โมเดล พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
รูปแบบความสำเร็จ, ธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่มบทคัดย่อ
บทความวิจัย เรื่องรูปแบบความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม กรณีศึกษา โคกหนองนาโมเดล พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม โดยมีวิธีดําเนินการวิจัย 2 แนวทางร่วมกัน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ ครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรจำนวน 1,364,970 ครอบครัว (กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2565) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) คุณลักษณะความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม พบว่าเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จต้องมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง มีความสามารถในการควบคุมเหตุการณ์แก้ปัญหาด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากนี้แล้วยังมีความสม่ำเสมอและไส่ใจในการเรียนรู้ในวิชาชีพแสวงหาโอกาสสร้างเครือข่ายมีทักษะการจัดการอื่นๆรวมทั้งการจัดการเชิงกลยุทธ์ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม พบว่ามีปัจจัยดังนี้ ด้านธุรกิจเกษตรผู้ประกอบการเกษตรต้องมีสถานที่ขายสินค้า สามารถผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรได้ มีความรู้ในการผลิตการขายและเทคโนโลยี ด้านการสร้างมูลค่าพิ่มสินค้าเกษตรต้องสามารถวัดผล ยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้ สามารถสร้างความแตกต่างเกี่ยวกับชื่อสินค้า และสามารถวางแผนและปฎิบัติการทางการตลาดได้ และ 3) แนวทางพัฒนาความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม พบว่าเกษตรกรต้องมีความรู้ในการบริหารจัดการการผลิตการขายและเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการลดต้นทุนและทำให้มีกำไรเพิ่มมากขึ้นสามารถผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรได้และมีสถานที่ขายสินค้าเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ต้องมีความรู้ในเรื่องธุรกิจการผลิตสินค้าเกษตรสามารถแปรรูปผลผลิต
References
กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). ครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตร. สืบค้นเมื่อ 11
พฤษภาคม 2564. จาก https://farmer.doae.go.th/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล พิมพ์ครั้งที่ 18.
กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉัตรภูมิ วิรัตน์จันทร์. (2550). สระเก็บน้ำต้านภัยแล้งนวัตกรรมสนับสนุนทฤษฎีใหม่ในพื้นที่แล้ง.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร:
วีอินเตอร์พริ้นทร์ กรุงเทพมหานคร.
นาวี ไชยมี. (2564). โครงการโคกหนองนาโมเดล. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564. จาก
https://district.cdd.go.th/nonsung
พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข. (2559). การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคง
ทางอาหารในชุมชนเกษตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชา
การศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรินยา คำพิลา. (2546). การเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเองและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. ใน ฉันทนา บรรพศิริโชติ. ผู้ใหญ่
วิบูลย์กับการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. ฉะเชิงเทรา: ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ่าน
ตะวันออก (วนเกษตร).
ศุภาวัน วงศ์คำ. (2564). โครงการโคกหนองนาโมเดล. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564. จาก
https://www.thailandplus.tv/archives/579427
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). การบริหารจัดการน้ำด้วยโคกหนองนาโมเดล. สืบค้น
เมื่อ 11 พฤษภาคม 2564. จาก
https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/khoknongna.html
สุนทร สังข์ทอง. (2564). โครงการโคกหนองนาโมเดล. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564. จาก
https://district.cdd.go.th/nonnarai/2021
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ 13. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฏาคม 2566, จาก https://thailand.un.org/th/sdgs
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). กรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี
พ.ศ. 2565-2569. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564. จาก https://thailand.un.org/th
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564. จาก
https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=13651
Knowles, M.S. (1975). Self- Directed Learning: A Guide for Learner and Teacher. New York
: Association Pres
Taro Yamane. (1993). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd). New York: Harper and Row
Publications.