การปรับตัวของชาวนาเกลือในพื้นที่สองบุรีศรีมหาสมุทร : ความท้าทายเพื่อความอยู่รอดของชาวนาเกลือในยุค AI-Robotics

ผู้แต่ง

  • เทพพิสุทธิ์ ประจิตร , สุรศักดิ์ สุขมาก, กรรณิกา ปัญญาวงค์ และชมพูนุท แย้มสรวล คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ชาวนาเกลือ, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชาวนาเกลือจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาครให้มีความยั่งยืน ดำรงอยู่ได้ในเศรษฐกิจยุคปัญญาประดิษฐ์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะจง จำนวน 17 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย  พบว่าแนวทางการพัฒนาชาวนาเกลือให้มีความยั่งยืน ตามกลุ่มของชาวนาเกลือ 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่มีความคิดก้าวหน้า ควรเปิดโอกาสให้ชาวนาเกลือกลุ่มนี้เป็นผู้นำในการร่วมกำหนดนโยบายในการปรับเปลี่ยนจากชาวนาเกลือ   สู่การเป็น “ผู้ประกอบการนาเกลือ” 2) กลุ่มที่มีความคิดแบบเดิม ๆ คือ ขายผลผลิตเกลือให้กับพ่อค้าคนกลาง ภาครัฐควรกำหนดนโยบายในการประกันราคาเกลือ เพื่อสร้างความมั่นใจในอาชีพทำนาเกลือ เมื่อมีรายได้ที่แน่นอน ชาวนาเกลือก็จะยังคงรักษาที่นาและทำอาชีพนาเกลือต่อไป 3) กลุ่มที่ต้องยอมรับข้อจำกัดทางพื้นที่ กลุ่มนี้มีข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ คือ พื้นที่  นาเกลือตำบลบางโทรัด ควรมีหน่วยงานเข้ามาส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชาวนาเกลือกับเรือขนเกลือ ผลการปรับตัวของชาวนาเกลือ พบว่า ชาวนาเกลือมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปเกลือมากขึ้น เช่น สบู่ ยาสีฟัน โลชั่น เกลือหอมกันยุง แป้งเกลือจืด เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าให้เกลือมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และชาวนาเกลือบางส่วนสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่นาเกลือได้ตลอดทั้งปีจากการทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำนาเกลือ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2538). สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กองวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร 2538 : 7.

ญาณิศา อัตตรัถยา. (2557). ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินนาเกลือ จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญลักษณ์ เสือสี. (2549). การผลิตและการตลาดเกลือทะเลของสมาชิกสหกรณ์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2565). การปรับตัวของชาวนาไทยช่วงวิกฤตโควิด-19 ภายใต้พลวัตการผลิตและตลาดข้าวของชุมชนบ้านเขากลาง จังหวัดพัทลุง.วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 18 (2), 1-26.

ปัณฉัตร สินธุสะอาด. (2549). การทำนาเกลือกับพัฒนาการสังคมและเศรษฐกิจของหมู่บ้านสาขลาจังหวัดสมุทรปราการ ระหว่าง พ.ศ. 2450-2549. วารสารวิจัย มสด. 2 (1), 13-22.

วทัญญู ใจบริสุทธิ์, จิตสุภา กิติผดุง. (2564). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนเกลือสมุนไพรลาดใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(7), 2949-2962.

วนิชา เดชะบุญ. (2553). พลวัตนาเกลือ ตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29