การเปลี่ยนแปลงของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างในสังคมจีนปัจจุบันและมุมมองการเปลี่ยนแปลงของชาวจีน
คำสำคัญ:
Dragon Boat Festival, tradition of worshiping Dragon Boat Festival, changeบทคัดย่อ
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเป็นประเพณีของชาวจีนที่เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านและเป็นตำนานวีรบุรุษบุคคลสำคัญที่สืบต่อกันมามากกว่า 2000 ปี เทศกาลนี้เป็นหนึ่งในสี่เทศกาลที่สำคัญของประเทศจีน แฝงไว้ด้วยความลึกซึ้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวจีน จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) กับทาง UNESCO ในปี 2009 และเป็นเทศกาลแรกของจีนที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกด้วย(党建网, 2020) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างจากอดีตจนถึงปัจจุบัน 2) เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษามุมมองของชาวจีนในปัจจุบันที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง การวิจัยการเปลี่ยนแปลงของประเพณีเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างในสังคมจีนปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือคือแบบสำรวจปรนัย แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประเพณีไหว้บ๊ะจ่าง และความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของประเพณีไหว้บ๊ะจ่างในสังคมจีน และทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างชาวจีนที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปีแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของธรรมเนียมปฏิบัติในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างบางอย่างลดเลือนหายไปตามความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษา เทคโนโลยีและสังคม 2) การไหว้บ๊ะจ่างในปัจจุบันแตกต่างจากอดีต ในปัจจุบันชาวจีนส่วนมากไม่ได้ไหว้บ๊ะจ่างเพื่อระลึกถึงบุคคลสำคัญ หรือกระทำขึ้นเพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้า แต่ยังคงปฏิบัติกันเป็นธรรมเนียมสืบทอดต่อมา เนื่องจากเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างแฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย บ๊ะจ่างในปัจจุบันมีรูปร่างและรสชาติที่เปลี่ยนไปจากอดีต มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย ดูแปลกใหม่ 3) ชาวจีนทุกช่วงอายุล้วนมีความเห็นว่าเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างมีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบันในระดับมากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าพิธีการเซ่นไหว้เพื่อบูชาเทพเจ้ามีให้เห็นน้อยลง แต่ในช่วงเทศกาลดังกล่าวชาวจีนออกท่องเที่ยว หรือกลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวมากขึ้น สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ประเพณีไหว้บ๊ะจ่างมีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการตลาดของสังคมจีนในปัจจุบัน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปขนมบ๊ะจ่างได้มีรูปแบบที่เปลี่ยนไปโดยมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปทั้งในเรื่องวัตถุดิบการทำบ๊ะจ่าง และวิธีการห่อที่ทำให้ดูแปลกใหม่น่าสนใจมากขึ้น หรือสินค้าที่เคยเป็นที่นิยมทำออกมาจำหน่ายในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างอย่างเช่นถุงหอม เนื่องจากกระแสนิยมการแต่งกายย้อนยุค ถุงหอมจึงเปลี่ยนจากสินค้าที่ขายได้เพียงช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างมาเป็นสินค้าที่ขายได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีการพัฒนารูปแบบและกลิ่นให้เข้ากับปัจจุบันมากขึ้นด้วย
References
ถาวร สิกขโกศล. (2557). เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน.
นภัสสรณ์ เหลืองศักดิ์ศรี. (2562). ประเพณีการไหว้ในเทศกาลตรุษจีน ที่มา ความหมาย และการเปลี่ยนแปลง.
วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6(1), (383-394).
韩鉴堂. (2018). 中国文化. (พิมพ์ครั้งที่ 3). 北京 : 北京语言大学出版社.
张俊伟. (2014). 解读端午节. 河南: 河南人民出版社.
马杰. (2017). 中 国 端 午 节 文 化 在 朝 鲜半 岛 和 日 本 的 传播及 演 变. Retrieved from http://www.cnki.net
张为. (2023). 龙舟故里 游客嗨翻了. Retrieved from http://www.cnki.net
王宜玄. (2023). 从端午产业“三变”看消费市场活力. Retrieved from http:// www.gov.cn
王成. (2017). 端午龙舟何以“北移西扩,赛出江南”. Retrieved from http://m.xinhuanet.com
白梦洁. (2020).端午节话习俗. 党建网. Retrieved from https://shorturl.asia/YHPAq
陈玉岚. (2013). 端午节的传说:孝女曹娥救父投江. Retrieved from https://shorturl.asia/0ajMi
陕西服装工程学院. (2022). 当端午碰上汉服,享受一场古风古韵的传统文化盛宴吧!. Retrieved from https://shorturl.asia/oWfk8
中国民营文化产业商会. (2022). 端午节香囊真香!国风当道,激活传统产业年轻化. Retrieved from https://shorturl.asia/S0bk7