แนวทางการจัดการของเสียจากงานอีเวนต์เพื่อความยั่งยืนในธุรกิจอุตสาหกรรมบริการ

Waste Management, Event Venues, Service Industry Businesses, Sustainable Practices

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี ศรีธัมมา -

คำสำคัญ:

การจัดการของเสีย, สถานที่การจัดงาน, ธุรกิจอุตสาหกรรมบริการ, แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

ภาคธุรกิจการบริการเริ่มตระหนักดีถึงประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการริเริ่มด้านความยั่งยืนและ
การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ อาทิ ธุรกิจการจัดงานอีเวนต์ โรงแรม และธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจากการจัดงานอีเวนต์และเกิดเป็น
แนวทางการจัดการของเสียจากงานอีเวนต์อย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ผลกระทบที่เกิดขึ้น
การจัดการของเสียสำหรับการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นในการจัดงานซึ่งก่อให้เกิดของเสียที่มีการจัดการได้ยากตามมาเป็นจำนวนมาก 2) แนวทางการจัดการของเสียสำหรับการจัดงานอีเวนต์ในธุรกิจอุตสาหกรรมบริการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการ 3 Rs มาใช้ คือ ใช้ในสิ่งที่จำเป็นหรือลดการใช้ (Reduce) การนํากลับมาใช้ซ้ำ (Reuse)
การนําไปแปรรูปใหม่และสามารถก่อให้เกิดมูลค่าได้ (Recycle) เพื่อทำให้เกิดเป็นบริบทสำคัญในแนวทางการจัดการของเสียจากงานอีเวนต์อย่างยั่งยืนในธุรกิจอุตสาหกรรมบริการเพื่อการพัฒนาการจัดงานในการเพิ่มมูลค่าให้เกิดความยั่งยืนและ
มีเสถียรภาพต่อไป   

ทั้งนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาโดยนำหลักเกณฑ์การจัดงานอย่างยั่งยืน 8 ประการ คือ 1) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการจัดงาน 2) เพื่อลดการใช้นํ้า พลังงาน วัสดุ และทรัพยากรอื่นๆ ในกระบวนการ 3) กำหนดมาตรการลดปริมาณขยะ รวมถึงการนำขยะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กลับมาใช้อีกครั้ง 4) คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสังคมที่เกิดจากวัฏจักรชีวิตของสินค้าและบริการนั้นๆ ในกระบวนการจัดซื้อ 5) ดำเนินงานตามหลักการเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดช่วงเวลาการจัดงาน ลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นใจว่ามีการให้บริการที่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้เข้าร่วมงาน
ทุกประเภท และคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมงานและพนักงาน 6) ดำเนินมาตรการที่จะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมต่อชุมชน ให้ส่งผลกระทบทางลบน้อยที่สุด 7) เพิ่มการรับรู้ การให้ข้อมูล และการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนหลักที่เกี่ยวข้อง และ 8) จัดทำรายงานที่จะช่วยในการสื่อสาร การวัดผล และการประเมินผลของการจัดงานที่ยั่งยืนนับตั้งแต่ขั้นตอนการริเริ่มกระบวนการจนถึงขั้นตอนการได้มาซึ่งผลลัพธ์ของการจัดงาน

References

กวินรัศม์ เรืองเอี่ยม, อรทัย ทองนพคุณ และอดิเทพ กำแพงเสรี. (2562). แนวทางการจัดการ อาหารที่ถูกทิ้ง (Food Waste)

จากการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ อุตสาหกรรมบริการ. Dusit Thani College Journal, 13(3), 546–557.

ศิรเดช โทณวณิก (2561). ปั้นดุสิตครบมิติความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2561, สืบค้นจาก

https://forbesthailand.com

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) (2561). ทิศทางกลยุทธ์ไมซ์ไทย ประจำปี

งบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักพิมพ์: สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 14

พฤศจิกายน 2559 จาก https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf

Boonlert, W. (2014). Factors affecting students’ intentions to study at universities adopting the “student-as-

customer” concept International Journal of Educational Management, 28(6), 676-693.

Chen, C., Chen, Y., & Hou, J. H. (2009). CiteSpace II: Recognition and Visualization of New Trends and New

Dynamics in Scientific Literature. Journal of the China Society for Scientific and Technical

Information, 28, 401-421.

Kim, Y. & Han, H. (2010) Intention to Pay Conventional-Hotel Prices at a Green Hotel—A Modification of the

Theory of Planned Behavior. Journal of Sustainable Tourism, 18, 997-1014. Retrieved from

https://doi.org/10.1080/09669582.2010.490300

United Nations (2016). The Sustainable Development Agenda. Sustainable Development Goals. Retrieved

from https://www.un.org/sustainabledevelopment/development-agenda-retired/

Wei, Y., Zhang, Y.J., & Cai, Y. (2013). Growth or longevity: the TOR's decision on lifespan regulation. Bio

gerontology, 14(4), 353-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29