ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีต่อ ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • ภานุพงศ์ กรเกตุ เพ็ญพนอ พ่วงแพ และชัยรัตน์ โตศิลา -

คำสำคัญ:

สะเต็มศึกษา, ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อม, มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) เพื่อศึกษาความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้น 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมและแบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน และ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

                        ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อม หลังการใช้การจัดการเรียนรู้ (  = 17.4, S.D. = 1.96) สูงกว่าก่อนการใช้การจัดการเรียนรู้ (  = 9.2, S.D. = 1.86) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สามารถนำความรู้ ทักษะสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมไปใช้ได้เหมาะสมกับช่วงวัยของตนเอง โดยสามารถตั้งคำถามทางสิ่งแวดล้อม จากประเด็นปัญหาที่เป็นทั้งสถานการณ์ตัวอย่าง และสถานการณ์จากชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ได้ที่สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพ และระบบนิเวศ สังคมวัฒนธรรม มีสมรรถนะในด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยสามารถวิเคราะห์ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม และสามารถสืบค้นข้อมูลหาหลักฐานจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และสามารถนำเอาความรู้และสมรรถนะเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการแก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (   = 2.36, S.D. = 0.02)

 

References

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี. (2559). ผลประชุมคณะกรรมการนโยบาย "สะเต็มศึกษา" กระทรวงศึกษาธิการ. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. เข้าถึงได้จาก ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี. เข้าถึงได้จากhttps://www.moe.go.th/websm/2016/may/218.html

จีระวรรณ เกษสิงห์. (2561). สิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน. กรุงเทพฯ: วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์.

ธนา เครือวงค์. (2561). การพัฒนาการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดกรีนสะเต็มศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธีรดา หลงศิริ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรสถานที่เป็นฐาน เรื่อง วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาสถานที่จังหวัดระยอง. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรูตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.

นิติกร อ่อนโยน และคณะ. (2561). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 14(2), 20 – 41.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2558). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. เข้าถึงได้จาก วารสารนักบริหาร

https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_13/pdf/aw07.pdf

พิรุณ ศิริศักดิ์. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่เพื่อส่งเสริมสัมผัสด้านสถานที่และการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดาวัลย์ กัณหสุวรรณ. (2561). 40 กิจกรรมกับสิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพ: นานมีบุ๊ค.

ลินดา การภักดี. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมน่ารู้เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/03/newIntro-to-STEM.pdf.pdf.

สมชาย อุ่นแก้ว. (2561). วิธีการสอนแบบสะเต็มศึกษา (STEM Education). เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.kids.ru.ac.th/community_km.asp

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่3) พ.ศ.2553.กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. เข้าถึงได้จาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. เข้าถึงได้จากhttp://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan12.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567. เข้าถึงได้จากhttps://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). Academic Focus สะเต็มศึกษา. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. เข้าถึงได้จาก http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/493008

สิขเรศ อำไพ. (2558). การพัฒนาแบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร

มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอนงค์ เดชโยธิน. (2560). การพัฒนาการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การ สอนแบบโครงการที่เน้นการคิดแก้ปัญหา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, มหาสารคาม.

อับดุลยามีน หะยีขาเดร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิ), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.

C.H. Swanepoel, C.P. Loubser and C.P.C. Chacko. (2002). Measuring the environmental literacy of teachers. South African Journal of Education. 22(4), 282 – 285.

Campaign for Environmental Literacy. (2007). Why Is Environmental Education Important?. Accessed June 30. Available from http://www.fundee.org/campaigns/nclb/whyee.htm.

Chepesiuk, C. (2007). Environmental Literacy: Knowledge for a Healthier Public. Environ Health Perspect. 115(10): A494–A499.

Disinger, J. F., & Roth, C. E. (1992). Environmental Literacy. Accessed August 27. Available from. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED351201.pdf

Heitkamp, M.A. (2016). The Impacts of Classroom Stem Themed Environmental Investigations On Middle School Environmental Literacy. School of Education Student Capstone Theses and Dissertations.

Hollweg, K. S., Taylor, J. R., Bybee, R. W., Marcinkowski, T. J., McBeth, W. C., & Zoido, P. (2011). Developing a framework for assessing environmental literacy. from Washington, DC: North American Association for Environmental Education.

Honey, M.A. & Pearson, G. & Schweingruber, H.. (2014). STEM integration in K-12 education: status, prospects, and an agenda for research. National Academies Press.

International Technology and Engineering Educators Association. (2007). Standard for Technology literacy: Content for the Study of Technology third Edition. Accessed August 27. Available from. https://www.iteea.org/File.aspx?id=67767.

Irene Cheng, N & Mui So, W. (2014). Teachers' environmental literacy and teaching - Stories of three Hong Kong primary school teachers. International Research in Geographical and Environmental Education 24(1).

Loubser, CP. (2001). Concept formulation for environmental literacy. Concept formulation for environmental literacy. South African Journal of Education 21(4), 317-323.

National Science Teachers Association. (2003). NSTA Position Statement on Environmental Education. August 28. Available from. https://static.nsta.org/pdfs/PositionStatement_EnvironmentalEd.pdf

National Research Council (NRC). (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concepts, and Core Ideas. Accessed May 30. Available from.

http://www.nap.edu/catalog.php?record_id=13165.

North American Association for Environmental Education (NAAEE). (2011). Developing a Framework for Assessing Environmental Literacy: Executive Summary. Accessed May 30. Available from. https://naaee.org/sites/default/files/inline-files/envliteracyexesummary.pdf.

Rhode Island Environmental Education Association. (2019). Assessment of Environmental Literacy Project. June 28. Available from. http://rieea.org/wp-content/uploads/2019/07/Assessing-Environmental-Literacy-Project-Final-Report-2019.07.29.pdf

Simmons, D. (1995). The NAAEE Standards Project: Papers on the Development of Environmental Education Standards. August 15. Available from. https://eric.ed.gov/?id=ED406177.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29