การสำรวจศักยภาพในการจัดกิจกรรมดูนกเพื่อการเรียนรู้โดยใช้พื้นที่สถานศึกษาขนาดกลางในเขตเมือง

THE CASE STUDY OF DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

นก, กิจกรรมดูนก, ศักยภาพ, พื้นที่สีเขียว, มหาวิทยาลัย, เขตเมือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจข้อมูลชนิดนกในพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยการสำรวจและบันทึกข้อมูลชนิดนกเป็นระยะเวลา 5 เดือน ผ่านการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม อาศัยกล้องส่องทางไกลแบบสองตา แบบตาเดียวและกล้องถ่ายภาพเป็นอุปกรณ์สำรวจและเก็บข้อมูล และใช้หนังสือคู่มือดูนกเมืองไทยและแอพลิเคชั่น Merlin Bird ID เป็นเครื่องมือในการจำแนกชนิดนก และ 2) เพื่อสำรวจศักยภาพในการจัดกิจกรรมดูนกเบื้องต้นของสถานศึกษาขนาดกลางในเขตเมือง โดยใช้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นกรณีศึกษา ผู้วิจัยได้สร้างกรอบการประเมินศักยภาพที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาโดยอ้างอิงจากเกณฑ์ประเมินมาตรฐานแหล่งกิจกรรมดูนกที่จัดทำโดยกรมการท่องเที่ยว (กรมการท่องเที่ยว, 2564) ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง กับผู้เชี่ยวชาญการจัดกิจกรรมดูนก โดยการเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อปรับปรุงกรอบในการประเมินศักยภาพ จากนั้นจึงนำกรอบที่ได้ไปสำรวจ วิเคราะห์ และสรุปผลด้วยวิธีแบบอุปนัย  

                     ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับจัดกิจกรรมดูนกเพื่อการเรียนรู้เบื้องต้น โดยด้านที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ ความสะดวกในการเข้าถึงสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย  ส่วนในด้านองค์ประกอบทางธรรมชาติ ถือว่าเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีศักยภาพ โดยพบว่าภายในมหาวิทยาลัยมีความหลากหลายของชนิดนกมากถึง 36 ชนิด และมีพื้นที่สีเขียวที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของนก อย่างไรก็ตาม พบว่ายังมีความจำเป็นต้องพัฒนาในด้านการจัดกิจกรรมและด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและบุคลากร โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะของวิทยากรนำดูนก อุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรม รวมทั้งการจัดตั้งกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมดูนกที่เป็นรูปธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและบุคลากรภายในสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องการอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น เป็นการช่วยปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสอดคล้องกับนโยบาย Green University ของมหาวิทยาลัย

Author Biography

พรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Lecturer. Tourism and Event Business Department. Faculty of Tourism and Hospitality. Dhurakij Pundit University. Thailand

References

กรมการท่องเที่ยว. (2564). มาตรฐานกิจกรรมดูนก (Bird Watching Standard). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567, จาก

https://www.dot.go.th/ebooks/ebooks-department/4/6

เกษม ตั้งทรงศักดิ์. (2566). Birdwatching Near Me: ตัวอย่างการสร้างรายได้จากกิจกรรมดูนกของจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์

อเมริกา เพื่อชี้ว่าไทยก็ชูสิ่งนี้เป็น Soft Power ได้. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567, จาก https://readthecloud.co/birdwatching-in-thailand/

จารุจินต์ นภีตะภัฏ, กานต์ เลขะกุล, วัชระ สงวนสมบัติ. (2561). คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย. ด่านสุทธาการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

ประทีป ด้วงแค (บรรณาธิการ). (2565). 80 Years 80 Birds Kasetsart University. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประภากร ธาราฉาย. (2555). นกในมหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ปรัชญาพร วันชัย และ เรืองวิทย์ เสนาดี. (2565). ความหลากชนิดของนกในพื้นที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 5(1), 23–38. https://doi.org/10.14456/jsse.2022.3

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2564). นครเฉิงตูดันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

นักท่องเที่ยวชมนก-ชมไม้ ชมหิ่งห้อย กวาดรายได้ 120 ล้านหยวน. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567, จาก https://www.stsbeijing.org/contents/20999/

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2565). DPU ดีต่อปอด ม.เอกชนสิ่งแวดล้อมดีอันดับ 1 จัดอันดับโดย UI Green Metric World University. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.dpu.ac.th/news/1579

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2566). Journey to Sustainability เส้นทางสู่ความยั่งยืน แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ทุกคนต้องช่วยกัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.dpu.ac.th/news/1625

สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์ และ วุฒินันท์ ม่วงมี. (2559). การสำรวจความหลากหลายของนกในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 21(2), 260-279.

สมศักดิ์ บัวทิพย์, ธนากร จันทสุบรรณ, พิมลรัตน์ ทองโรย และ เชาวพจน์ ชววงศา. (2565). ความหลากหลายของนกในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 27(3), 1889-1910.

สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์. (2544). การใช้นกเป็นตัวชี้วัดทางนิเวศวิทยา. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

เอมมา แมร์ริส. (2565). วิถีอนุรักษ์ธรรมชาติแบบใหม่ในอเมริกาตอนที่ 3: พื้นที่อนุรักษ์ในเมืองๆ ใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 19

เมษายน 2567, จาก https://ngthai.com/environment/44935/a-creek-in-yonkers/

Ares, A., Filippelli, S., Hallowell, R., & Jones, B. (2014). Improving Bird Watching at the Ohio State University Wetlands: Columbus, OH.

Castillo-Aguilar, M. A., & Roa-Angulo, V. (2021). Birdwatching Tourism and Environmental Education as Strategies for the Conservation of Wetlands in the City of Bogotá, Colombia. Indian Journal of Science and Technology, 14(13), 1036-1043.

Chamberlain, D. E., Gough, S., Vaughan, H., Vickery, J. A., & Appleton, G. F. (2007). Determinants of bird species richness in public green spaces. Bird Study, 54(1), 87–97.

Donnelly, R. & Marzluff, J. M. (2004). Important of Reserve Size and Landscape Context to Urban Birds Conservation. Conservation Biology, 18(3), 733 745.

Estevo, C. A., Nagy-Reis, M. B., & Silva, W. R. (2017). Urban parks can maintain minimal resilience for Neotropical bird communities. Urban Forestry & Urban Greening, 27, 84–89.

Finlay, J., & Massey, J. (2012). Eco-campus: Applying the ecocity model to develop green university and college campuses. International Journal of Sustainability in Higher Education, 13(2), 150-165.

Geng, Y., Liu, K., Xue, B., & Fujita, T. (2013). Creating a “green university” in China: a case of Shenyang University. Journal of Cleaner Production, 61, 13-19.

Jasmani, Z., Ravn, H. P., & van den Bosch, C. C. K. (2017). The influence of small urban parks characteristics on bird diversity: A case study of Petaling Jaya, Malaysia. Urban Ecosystems, 20(1), 227–243.

Kurnia, I., Arief, H., Mardiastuti, A., & Hermawan, R. (2021). Urban landscape for birdwatching activities. In IOP Conference Series: Earth and Environmental Science. 8(1), 012005.

Mardiastuti, A. (2020). Urban Park Design for bird diversity: Theory and application in landscape and site scales. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science, 501(1).

Naithani A., Suwanwaree, P. & Nadolski, B. (2018). Bird Community Structure of Suranaree University of Technology Campus, Nakhon Ratchasima Province, Thailand. Pakistan J. Zool., 50. 1257-1265.

Newsome, D., & Simpson, G. (2020). Green cities as bird watching destinations. In Routledge handbook of tourism cities (pp. 262-275). Routledge.

Ortega-Álvarez, R., & MacGregor-Fors, I. (2010). What matters most? Relative effect of urban habitat traits and hazards on urban park birds. Ornitologia Neotropical, 21, 519–533.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29