การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนทักษะการเขียนโดยวิธีBrookesและWithrow และวิธีการสอนเขียนแบบภาษาเพื่อการสื่อสาร:กรณีศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนทักษะการเขียนโดยวิธีของบรู๊คส์และวิทโธรและวิธีการสอนแบบภาษาเพื่อการสื่อสาร: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ, .กระบวนการเขียนของบรู๊คส์และวิทโธร, กลวิธีการสอนเขียนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสอนแบบภาษาเพื่อการสื่อสาร 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาเพื่อการสื่อสาร แบบทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการโดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน และแบบเป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มที่ได้รับการจัดการสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าขนาดของผลอยู่ที่ 3.73 2) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มที่ได้รับการจัดการสอนเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าขนาดของผลอยู่ที่ 0.29 3) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการสอนเขียนแบบภาษาเพื่อการสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าขนาดของผลอยู่ที่ 2.09 และ 4) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร อยู่ในระดับมากที่สุด
References
Brookes ,G , and Withrow.J. 1980. 10 Steps Controlled Composition for Beginning and Intermediate
Language Development. 2nd ed.Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Common European Framework of Reference for Languages (CEFR). (n.d.). Retrieved June 11, 2024,
from https://www.english-room.com/cefr-thailand/
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology, 22 140, 55.
Richards, J.C. (2018). Communicative Language Teaching Today. New York: Cambridge University Press.
Robroo, I. (2017). Instructional Design. Suan Sunandha Rajabhat University.
Waltz, C. F., and Bausell, R. B. (1981). Nursing Research: Design, Statistics, and Computer Analysis.
F.A. Davis Company.