ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดตรังต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
การับรู้, ความคิดเห็น, โครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรังบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดตรังต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง และศึกษาเปรียบเทียบคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดตรังต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรังจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเมืองอัจฉริยะในจังหวัดตรังและปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับโครงการเมืองอัจฉริยะในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือประชาชนในจังหวัดตรัง จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในจังหวัดตรังมีความคิดเห็นต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนในจังหวัดตรังที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง ไม่แตกต่างกัน สำหรับที่ประชาชนในจังหวัดตรังมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง และความรู้เกี่ยวกับโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง ต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
บ้านเมือง. (2564). ผู้ว่าฯ ตรัง เข้ารับมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย โครงการเมืองศรีตรัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567, จาก https://www.banmuang.co.th/news/region/263742
ลัฐกา เนตรทัศน์. (2561). เมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart City). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567, จาก https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files/Article_2_ASEANSmartcities(edited).pdf
สำนักงานทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย. (2566). จำนวนประชากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php