การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการบริหารงานโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กชนิภา ดีพร้อม และเมธาวี โชติชัยพงศ์ -

คำสำคัญ:

การบริหารงานโรงเรียนในสังกัดเทศบาล, ผู้บริหารสถานศึกษา, การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชน

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมของชุมชนมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาโรงเรียน เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ มีบทบาท กำหนดแนวทางการบริหารจัดการ ร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  มีศักยภาพ สามารถจัดบริการทางการศึกษาได้ตรงกับความต้องการและเกิดประโยชน์ต่อชุมชน วัตถุประสงค์ของการวิจัย               1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการบริหารงานโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการบริหารงานโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการบริหารงานโรงเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก                  (x̄ = 3.77, S.D. = 42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล                          ( x̄ = 4.02, S.D. = 53) การมีส่วนร่วมปฏิบัติการ (x̄  = 3.87, S.D. = 58) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (x̄  = 3.61, S.D. = 34) และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (x̄ = 3.60, S.D. = 39) ตามลำดับ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการบริหารงานโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ เพราะว่าคณะกรรมการชุมชน เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา รวมทั้งชุมชนให้ความสำคัญในการจัดการศึกษา จึงเข้ามามีส่วนร่วมกับสถานศึกษาเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและสถานศึกษา

References

กนกวรรณ โรจนอุทัย. (2550). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น พ.ศ.2561-2565. กรุงเทพ: กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา พ.ศ.2563 - 2565. กรุงเทพ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กอบกฤช การควรคิด. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต) นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทศบาลนครอุบลราชธานี. (2567). แผนพัฒนาท้องถิ่น 2566-2570. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

ธนกร เชื้อจำรูญ. (2560). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(1), 89-97.

นิพล พัฒนะ. (2545). การเปรียบเทียบกระบวนทัศน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนครอบครัวชุมชน ของครู ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2544). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พาตีฮะห์ เดเบาะ. (2562). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 3. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ฟิกรี แก้วนวล. (2561). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย. 13(25), 65-80.

รัชนิดา นิลมณี. (2554). ความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันชาติ ดนเสมอ. (2551). การศึกษาปัญหาและแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สุดารัตน์ สุริยะวงษ์ และคณะ (2567). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพสันทราย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ 9(1), 1007-1017.

สุวิทย์ สุวรรณมณี. (2550). ความต้องการการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล หงส์วิไล. (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสระบัว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิญญา กังสนารักษ์. (2544). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับ. คณะของสถาบันอุดมศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อับดุลคอเล็ด เจะแต. (2557). กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านเกาะสวาด ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Chapin, F.S. (1997). Social participation and social intelligence. in Handbook of Research. Longman.

Erwin, W. (1976). Participation management: Concept theory and implementation. Atlanta Ga. Georgia State University.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

White, T.,R. (1999). An investigation of gender and grade -level differences in mutation. Dissertation Abstract international. 1896.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28