ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กิติญา มุขสมบัติ และเมธาวี โชติชัยพงศ์ -

คำสำคัญ:

ทักษะการบริหารงาน, ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

ในสภาพสังคมปัจจุบัน การศึกษาไทยเป็นการศึกษาในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพหรือเสริมสร้างพลังที่มีอยู่ในบุคคล ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นความสามารถทางการบริหารที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารสถานศึกษา เพื่อให้ภารกิจบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน และ 2) เพื่อนำเสนอข้อเสนอการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 134 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมมีทักษะอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ทักษะด้านความคิดรวบยอดเกี่ยวกับงานบริหารวิชาการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ทักษะด้านเทคนิควิธีเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคล และ 2) ข้อเสนอการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนที่ต้องการพัฒนาเร่งด่วนที่สุด พบว่า (1) ทักษะด้านเทคนิควิธีเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคล และ (2) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์เกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคล อย่างไรก็ตาม ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน มีทักษะการบริหารงานอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารควรส่งเสริมการให้ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรมีการกระจายอำนาจ กำหนดโครงสร้างและให้ความสำคัญในการออกคำสั่ง รวมทั้ง ควรส่งเสริมให้ครูปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักสายบังคับบัญชา ใช้จิตวิทยา มีความเป็นธรรมและประเมินผลการปฏิบัติงานตามคุณภาพของงาน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา

ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อีเลฟเว่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.

จงดี เพชรสังคูณ และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (กันยายน - ธันวาคม 2563). ทักษะของผู้บริหารกับความเป็นเลิศของ

โรงเรียนเอกชน. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 5(3), 585.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยด์.

ซุบรี ม่วงกุ้ง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2562). ศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดำรง โตใย. (2549). ที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ทิพรัตน์ จันทนา. (2552). การบริหารงบประมาณโดยใช้วัฏจักรคุณภาพของเดมมิ่งในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สํานักงานเขต

พื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

เทศบาลนครอุบลราชธานี. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลนครอุบลราชธานี 2566-2570. อุบลราชธานี: สำนักการศึกษา

เทศบาลนครอุบลราชธานี.

ธัญดา ยายศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา

เขต 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2564). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 133-146.

นิมาลีกี ใบสะเม๊าะ. (2564). พฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

นันทนา สมิงไพร. (2558). การศึกษาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและ

ครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการ

บริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). การสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า

เบ็ญจน์ คำเมือง. (2558). การบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี

เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, วิทยาลัยนครราชสีมา.

บุญทัน สุระมุล. (2550). การบริหารงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีรียาสาสน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 จาก

http://202.29.53.29/opac2/BibDetail.aspx?bibno=47317

ปรวรรณ์รัตน์ พิมพรม. (2559). การบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กองบริหารวิชาการและนิสิต.

ประวีณา มีวงษ์. (2558). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ผาณิต ฮานาฟี. (2555). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา สำนักงานหนองจอก. กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์พร จารุจิตร์. (2559). ภาวะผู้นำกับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ยุทธนา พรหมณี. (2560). ทักษะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของผู้นำ : การสั่งการและการมอบหมายงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2560, จาก Http://web.nke.kku.ac.th/bnnpet//ebook/data3/learning/lesson4.pdf

รดาชม พรมนิวาส. (2561). รูปแบบภาวะผู้นำแห่งตนและทักษะมนุษยสัมพันธ์ของผู้นำที่ส่งผลต่อความเหนียวแน่นของทีมงาน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ลักษณ์ประภา สุวรรณสมบัติ. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพสถานศึกษาตามแบบชีวิตวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วิลาวัลย์ ศรีบุศกร. (2556). การบริหารทั่วไปในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วิภาพร มาพบสุข.(2551). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ซีเอ็คยูเคชั่น.

ศรัญญา น้อยพิมาย. (2562). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

เสาวภา พรเสนาะ. (2556). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุริยา สว่างบุญ. (2550). การศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 1-4 สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อิศรา หาญรักษ์. (2563). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อุษา แซ่เตียว. (2559). ทักษะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Drake, T. L. & Roe, W. H. (1986). The Principalship. New York: Macmillan.

Dubrin, Andrew J. (2012), ESSENTIALS OF MANAGEMENT. Mason: South-Western Cengage Learning,

Katz, R. L. (1974). Skills of an effective administrator. Harvard business review.

Krejcie & Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological

Measurement, 30(3), 607–610

Sitterly, Connie. (1993). The Woman Manager: How to Develop Essential Skills for Success. London: Clays Ltd

Srisompet, P. (2013). Human Resource Management in The Management and Organization Principles. Bangkok: Triple Group.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28