การคัดเลือกแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีความเหมาะสม ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้สูงวัย

ผู้แต่ง

  • เอกราช ธรรมษา ปิยะวัฒน์ อัฒจักร ปิยภัทร โกษาพันธุ์ รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ กันยากร บุพะกิจ

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ชุมชน, ผู้สูงวัย

บทคัดย่อ

  งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความคาดหวังของผู้สูงวัยที่มีต่อการใช้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้สูงวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ใน อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ และต้องการเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิต   โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 100 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

           ผลการวิจัยพบว่าแพลตฟอร์ม Meta ได้รับความนิยมสูงสุด จึงควรใช้เป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน  เนื่องจากผู้สูงวัยส่วนใหญ่หาข้อมูลหรือซื้อสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากแพลตฟอร์ม Meta มากที่สุด ซึ่งเหตุผลหลักที่ผู้สูงวัยเลือกใช้ Meta เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้มีความคุ้นเคยและใช้งานได้ง่าย อีกทั้ง ยังมีฟีเจอร์ที่ส่งเสริมการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การสร้างเพจธุรกิจ การไลฟ์สดและระบบการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่เป็นกันเอง ซึ่งทำให้สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้อย่างดี  นอกจากนี้ การที่ผู้สูงวัยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน นอกจากจะเป็นการพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืนแล้ว ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้า เพิ่มยอดขายสินค้าได้ ขยายตลาดใหม่และสร้างการรับรู้สินค้าในตลาดได้อีกด้วย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). คู่มือการเตรียมความพร้อมวิสาหกิจชุมชนผู้สูงอายุสู่การค้าขายออนไลน์. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

กัลยกร จันทรสาขา และพรรณนิภา เปียจันทึก. (2565). การพัฒนากระบวนการออกแบบและการผลิตผลิตภัณฑ์ในชุมชนภายใต้ขีดข้อกำจัดของศักยภาพผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 42(3). 1-17.

ภาสกร รอดแผลง. (2564). การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์งอบ กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานงอบไทยลาวแง้ว

ทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3). 35-45.

เทศบาลพิบูลมังสาหาร. (2559). แผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) ของเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร. สืบค้นจาก

https://phibuncity.go.th/wp-content/uploads/2018

ธงชัย ชลศิริพงษ์. (2564). การทำงานแบบไฮบริดคืออะไร ทำไมจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการทำงาน. สืบค้นจาก

https://brandinside.asia/hybrid-work-is-a-norm/.

นฤศร มังกรศิลา, นุจรี บุรีรัตน์ และเกษมเขษม พุฒเรืองศรี. (2567). การตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่าง

ยั่งยืน โดยนำเสนอด้วยทุนทางวัฒนธรรมของวิสาหกิจชุมชนหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ, 3(3). 14-27.

ปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์, วรพจน์ ปานรอด และนุรซาร์ฮิดาห์ อุเซ็ง. (2566). เพิ่มความสนุก ประโยชน์ และลดความเสี่ยง สามารถยกระดับความตั้งใจในการยอมรับการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุในยุคโควิค 19. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 17(26). 1-17.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1). 375-396.

ปพิชญา เรือง ฤทธิ์. (2565). สื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพรกับการตัดสินใจซื้อของผู้สูงอายุ. ปริญญาการจัดการ

มหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วีรวัลย์ ปิ่นชุมพลแสง, ปรีญาภรณ์ คงทัพ, บุปผา ชื่นแดง, ภาวินี ใจชื่น และสุจิตรา ศรีอินทร์. (2565). การศึกษาพฤติกรรม

การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ, 1(1). 27-36.

สมาภรณ์ นวลสุทธิ์, สุจินดา พรหมขำ และบำรุง ศรีนวลปาน. (2567). การพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับ

ผลิตภัณฑ์ชุมชน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(7). 1376-1391.

สรชัย พิศาลบุตร. (2555). การทำวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง และเปรมวดี คฤหเดช. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของ

ผู้สูงอายุในตำบลบางนางลี่ จังหวัดสมุทรสงคราม. Chulalongkorn Medical Journal, 62(1). 118 - 133.

สุภาภรณ์ ทันธอัถต์, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ และศุภชัย ปิติกุลตัง.

(2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี,

วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(1). S5-S13.

อรทัย เลียงจินดาถาวร. (2562). โรงเรียนผู้สูงวัยกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 14(1). 195-207.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28