ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
The Leadership of Female School Administrators Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษาสตรีบทคัดย่อ
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 วัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรี 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรี จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรี แบบสอบถามที่ความเชื่อมั่น 0.960 ตัวอย่างเป็นข้าราชการครู 287 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย ร่วมกับการแบบสอบถามเชิงลึกจากข้าราชการครู จำนวน 5 คน เป็นการการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟและวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหาราสตรี แยกตามเพศและประสบการณ์ในการทำงานให้ผลแตกต่างกัน .01 แบ่งประเภทตามขนาดสถานศึกษาโดยรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรี พบว่า (1) ด้านการมีความคิดริเริ่ม ควรมีการจัดทำแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน (2) ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไขควรเป็นที่พึ่งให้ข้าราชการและยอมรับความคิดใหม่เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติ (3) ด้านการยอมรับนับถือ จัดให้มีการประชุมวางแผนการดำเนินงานและมอบหมายงานให้ตรงความสามารถของข้าราชการ (4) ด้านการให้ความช่วยเหลือ ควรมีความเห็นใจและเข้าใจปัญหาของข้าราชการครูแต่ละคนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (5) ด้านการโน้มน้าวจิตใจ คือมีความเป็นกันเองต่อข้าราชการครู (6) ด้านการประสานงาน ให้เข้าร่วมงานของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และ (7) ด้านการเข้าสังคมควรวางตนให้มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชาและชุมชน
References
กชพรพรรณ สุทธิหิรัญพงศ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
กัลยาณี บัณฑิชาติ. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเขาสมิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ขวัญทอง ฉ่าเฉื่อย และนิคม นาคอ้าย. (2559). การศึกษาความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก, ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 3 การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. (หน้า 379). วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. 2559.
ธนนภัทร ยศดำ. (2565). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13, 2277-2293.
พสุ เดชะรินทร์. (2555). การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.ร. เอกสารประกอบคำบรรยาย PMQA.
ภัทรภร อุทรักษ์. (2551). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีโดยการรับรู้ ของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
มัชฌิมา วงษ์จันทร์เพ็ง. (2565). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 21(2), 11-18.
สักรินทร์ ทองศรี. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สาธิต มณฑาณี. (2559). พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในทัศนะของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สิริพรรณ ชูสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุวิมล โตปิ่นใจ. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางบ่อ 2 อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.