การประเมินโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

ผู้แต่ง

  • พันธวัธน์ เพชรศิวานนท์ -

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยเชิงประเมินโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST ในด้าน 1) บริบท 2) ปัจจัยนำเข้า 3) กระบวนการ และ 4) ผลผลิต ได้แก่ 4.1) ผลกระทบ 4.2) ประสิทธิผล 4.3) ความยั่งยืน และ 4.4) การถ่ายทอดส่งต่อ กลุ่มเป้าหมาย มีจำนวนทั้งหมด 237 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 3 คน ครู 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 9 คน นักเรียน 109 คน และผู้ปกครอง 109 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ประเภท 1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการสำหรับผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียน ทุกฉบับมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.80 ขึ้นไป 2) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ สำหรับผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เชิงเนื้อหารวมทั้งการเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

ผลการวิจัยพบว่า โครงการมีผลการประเมินในภาพรวม 1) ด้านบริบท มีค่าเฉลี่ย 4.67 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ย 4.47 อยู่ในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ย 4.72 อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ด้านผลผลิต ได้แก่ ผลกระทบ มีค่าเฉลี่ย 4.59 อยู่ในระดับมากที่สุด, ประสิทธิผล มีค่าเฉลี่ย 4.59 อยู่ในระดับมากที่สุด, ความยั่งยืนมีค่าเฉลี่ย 4.52 อยู่ในระดับมากที่สุด และการถ่ายทอดส่งต่อ มีค่าเฉลี่ย 4.53 อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกองค์ประกอบ นอกจากนี้ พบว่านักเรียนได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ จากการใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนทางด้านวิชาการ

References

ชื่นจิตร แก้วสุข. (2563). การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนวัดโพธาวาส(ภิรมอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2563. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทรงวุฒิ วีเปลี่ยน. (2566). การพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้: การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์การศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณและการประเมินผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เวชพงศ์ หนูด้วง และสุจินต์ หนูแก้ว. (2565). การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านบ่อหินสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 7(2), 953-968.

สมคิด พรมจุ้ย. (2563). เทคนิคการประเมินโครงการ. นนทบุรี : พิมพลักษณ์.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ทิศทางการปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: สํานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28