ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมจัดการความเครียดของผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมจัดการความเครียด, ความเครียด, ผู้ให้บริการบทคัดย่อ
การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมจัดการความเครียดของผู้ให้บริการ
ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะชีวสังคมแตกต่างกัน 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
ด้านบุคคลและด้านสภาพแวดล้อมบางประการที่มีต่อพฤติกรรมจัดการความเครียดของผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาปัจจัยสำคัญในการทำนายพฤติกรรมจัดการความเครียดของผู้ให้บริการในระบบหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มที่มีลักษณะชีวสังคมต่างกัน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน
ของประชากร จำนวน 397 คน มาจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 334 คน ประเภทสถานพยาบาล 2 คน ศูนย์บริการสาธารณสุข
กทม. 17 คน และคลินิกชุมชนอบอุ่น 44 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดประเภทมาตรประเมินค่า 6 ระดับ จำนวน 8 แบบวัด มีค่าความ
เชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง .721 ถึง .888 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย
ด้วยสถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีลำดับ ผลการวิจัยพบว่า
1) ไม่พบความแตกต่างกันของพฤติกรรมจัดการความเครียดทั้งด้านรวมและด้านย่อยทั้ง 2 ด้าน ได้แก่แบบมุ่งแก้ไขปัญหาและแบบมุ่ง
แก้ไขอารมณ์ใน ผู้ให้บริการที่มีลักษณะชีวสังคมแตกต่างกัน 2)ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธและสัมพันธภาพ
ในหน่วยงาน ที่มีต่อพฤติกรรมจัดการความเครียดทั้งด้านรวมและด้านย่อย 3) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตน
ในการจัดการความเครียดและการรับรู้ความคาดหวังขององค์กรที่มีต่อพฤติกรรมจัดการความเครียดทั้งด้านรวมและด้านย่อย
4) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความหยุ่นตัวและการสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อพฤติกรรมจัดการความเครียดทั้งด้านรวมและด้านย่อย
5) ตัวทำนายร่วม 7 ตัวแปร สามารถทำนายพฤติกรรมจัดการความเครียดทั้งด้านรวมและด้านย่อยแบบมุ่งแก้ไขปัญหาและแบบมุ่งแก้ไข
อารมณ์ 60.70%, 50.10% และ 51.50% ตามลำดับในกลุ่มรวม โดยตัวทำนายสำคัญ คือปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธ และ ความหยุ่นตัว
ด้วยค่าอิทธิพลเท่ากับ .54 และ .35 ตามลำดับ