ยุทธศาสตร์การจัดการรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในรูปแบบบันเทิงสำหรับปลูกฝังวัฒนธรรมค่านิยมและพฤติกรรมที่ดีงามให้กับเยาวชน

ผู้แต่ง

  • ธนชาติ จันทร์เวโรจน์ บริษัท จิณณ์ เจนเนอเรชั่น จำกัด, กรุงเทพมหานคร 10230
  • สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพมหานคร 10300
  • วรรณวิภา จัตุชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพมหานคร 10300

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, วัฒนธรรม, การศึกษาในรูปแบบบันเทิง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “ยุทธศาสตร์การจัดการรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในรูปแบบบันเทิงสำหรับปลูกฝังวัฒนธรรมค่า

นิยมและพฤติกรรมที่ดีงามให้กับเยาวชน” เกิดขึ้นจากปัญหาทุรกรรมเยาวชน การวิจัยนี้ศึกษาสภาพปัจจุบันของรายการโทรทัศน์

และเนื้อหาสาระของรายการโทรทัศน์ที่พึงประสงค์ของเยาวชน ศึกษาการจัดการรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในรูปแบบบันเทิง

สำหรับปลูกฝังวัฒนธรรม ค่านิยมและพฤติกรรมที่ดีงามให้กับเยาวชน พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการรายการโทรทัศน์เพื่อ

การศึกษารูปแบบบันเทิงสำหรับปลูกฝังวัฒนธรรม ค่านิยมและพฤติกรรมที่ดีงามให้กับเยาวชน ประชากรได้แก่นักเรียนระดับมัธยม

ต้น มัธยมปลาย และอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 480 ตัวอย่าง

โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการหาค่าความเที่ยงตรงและมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทางสถิติโดยใช้วิธีหาค่าความถี่

(frequency) แล้วสรุปออกมาเป็นค่าร้อยละ (percentage) ด้านการวิเคราะห์ระดับความสนใจและความต้องการใช้การวิเคราะห์ค่า

เฉลี่ย (mean : ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation : S.D.) ผสมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

กับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ทั้งนักวิชาการทางด้านการศึกษา นักรณรงค์ทางด้านวัฒนธรรม และผู้บริหารหารสถานีโทรทัศน์และผู้

ผลิตรายการโทรทัศน์ ผลการวิจัย พบว่าเยาวชนเชื่อว่าบทเรียนในดำเนินชีวิตที่ดีงามนั้น สามารถมาในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย ทั้ง

บทเพลงประกอบภาพ ละครสั้น ละครยาว สารคดี พิพิธทัศนา สนทนาบันเทิง กีฬา และข่าว ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ารายการเพื่อการศึกษา

ในรูปแบบบันเทิงมีศักยภาพที่จะปลูกฝังวัฒนธรรมและรูปแบบในการดำเนินชีวิตที่ดีงามได้ โดยจะต้องเป็นความร่วมมือกันระหว่าง

นักการศึกษา และนักผลิตรายการโทรทัศน์มืออาชีพ มีการ บูรณาการ “สาระความรู”้ และ “ความบนั เทงิ ” เขา้ ด้วยกนั อยา่ งกลมกลนื

แต่อย่างไรจะต้องมีครอบครัว การศึกษา และสื่อมวลชนแขนงอื่น บูรณาการการอบรมสั่งสอนและขัดเกลาเยาวชน เสริมแรงรายการ

โทรทัศน์ดังกล่าวนั้นด้วย จากผลของการวิจัยผู้วิจัยได้สรุปเป็นยุทธศาสตร์ในการจัดการรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในลีลาบันเทิง

ประกอบด้วย 15 P คือ โครงการ นโยบาย วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ สถานีและเวลาออกอากาศ การประชาสัมพันธ์

หน่วยงานผู้รับผิดชอบ บุคลากร ผู้นำเสนอ วิธีการนำเสนอ การสร้างเครือข่าย การผลิต และ ระบบและกระบวนการในการดำเนินงาน

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2015-01-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย