รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ประณยา กิจสาสน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร 10900

คำสำคัญ:

รูปแบบ, องค์กรแห่งการเรียนรู้, ธุรกิจประกันวินาศภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจ

ประกันวินาศภัยในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียน

รู้กับผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ตัวเงินของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นองค์กร

แห่งการเรียนรู้กับผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ตัวเงินของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบองค์กรแห่ง

การเรียนรู้ของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานที่

ไม่ใช่ตัวเงินของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ

ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทย จำนวน 400 คน จาก 54 บริษัท และใช้แบบสอบถามแบบ มาตร

ประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผ่านการหาความเที่ยงตรงซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป

และผ่านการหาค่าความเชื่อมั่น โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบ

ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงจะใช้สถิติอ้างอิง

แบบไม่มีพารามิเตอร์ ได้แก่ ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรม AMOS ส่วนการ

วิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กร

แห่งการเรียนรู้ของบริษัทประกันวินาศภัยจำนวน 4 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำนวน 4 คน

ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียน

รู้ของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยองค์กร ปัจจัยการจัดการความรู้ ปัจจัยการเรียนรู้ และ

ปัจจัยเทคโนโลยี โดยรวมผู้บริหารมีความคิดเห็นว่าปัจจัยต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมากทุกปัจจัย

2) ผู้บริหารมีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ พลวัตรการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนองค์กร

การเอื้ออำนาจ การจัดการความรู้ และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจประกัน

วินาศภัยในประเทศไทยโดยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยอยู่ที่

ระดับมากในทุกด้าน 3) ปัจจัยภายในองค์กร ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ตัว

เงินของธุรกิจประกัน วินาศภัยในประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสูง โดยปัจจัยด้านการเรียนรู้มีความสัมพันธ์

ต่อผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินของธุรกิจประกันวินาศภัยสูงที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านการจัดการความรู้ ปัจจัย

ด้านองค์กร และปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ตามลำดับ 4) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานที่

ไม่ใช่ตัวเงินของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสูง โดยด้านการจัดการความรู้มีความ

สัมพันธ์ต่อผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินของธุรกิจ ประกันวินาศภัยสูงที่สุดรองลงมา คือ ด้านพลวัตรการเรียนรู้ ด้านการนำเทคโนโลยีมา

ประยุกต์ใช้ ด้านการเอื้ออำนาจ และด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร ตามลำดับ และ 5) ปัจจัยภายในองค์กรทั้ง 5 ปัจจัยมีผลต่อการเป็น

องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีผลต่อผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ตัวเงิน โดยรูปแบบขององค์กรแห่งการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิง

ประจักษ์ (ค่า Chi-square = 276.488 ค่าองศาอิสระ (DF) = 180 ค่า P = 0.201 ค่าดัชนี GFI = 0.928 และดัชนี RMSEA = 0.043)

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2015-01-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย