ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของมารดาหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ ลีนะธรรม โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร 10700
  • ธนิดา จุลย์วนิชพงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคม, ความเครียดของมารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคม

ต่อความเครียดของมารดาหลังคลอดครรภ์แรกและเพื่อเปรียบเทียบความเครียดของมารดาหลังคลอด

ครรภ์แรก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้โปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมกับกลุ่ม

ควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรม ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่าง

เป็นมารดาหลังคลอดครรภ์แรกที่ได้รับการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 52 คน ที่มารับบริการในหน่วยหลังคลอด

โรงพยาบาลศิริราช ทำแบบวัดความเครียดของมารดาหลังคลอดครรภ์แรก และสุ่มอย่างมีระบบ

จากคนที่มีความเครียดปานกลางขึ้นไป เข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 26 คน ให้โปรแกรม

ในกลุ่มทดลอง วันที่ 2 และ วันที่ 3 หลังคลอด จำนวน 3 หัวข้อ โดยในระหว่างการเข้าโปรแกรมมีสามีร่วมด้วย

ทุกครั้ง ในกลุ่มควบคุมให้คำแนะนำตามปกติ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ Two-way ANOVA with repeated

measure, One-way ANOVA with repeated measure และ t-test เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในระยะก่อน

หลังและติดตามผล ผลการวิจัย พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัย

สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, มารดาที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความเครียดน้อย

กว่ามารดาที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ตามปกติในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญ

ทางสถิติที่ระดับ .01 และมารดาที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมในระยะหลังการทดลอง

และระยะติดตามผลมีความเครียดน้อยกว่าในระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2015-01-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย