แรงจูงใจในการเข้าศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของนักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จินตนา ไทธานี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ 10110
  • วัฒนีย์ โรจน์สัมฤทธิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ 10110
  • สุมลนิตย์ เกิดหนุนวงศ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ 10110

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, หลักสูตรระยะสั้น, ศูนย์ฝึกอาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับ แรงจูงใจ ของประชากรได้แก่ นักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพ

กรุงเทพมหานคร จำนวน 2,500 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร 390 คน

การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้คำนวณจากสูตรวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการ

สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .892 แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ

ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และเอฟ หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ให้ทดสอบ

เป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษา มีแรงจูงใจในการเข้าศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

ซึ่งพบว่า ด้านส่วนตัว มากเป็นอันดับแรก โดยนักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มากที่สุด

รองลงมาคือ ด้านสังคม พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการหาประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ และอันดับ

สุดท้าย ด้านอาชีพ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มทักษะและความชำนาญในวิชาชีพที่เรียน และต้องการ

เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์เพื่อนำไปประกอบอาชีพใหม่ ๆ

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2015-01-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย