การศึกษาผลกระทบจากศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ต่อธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็กในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ทักษพร ป้อมลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์ 60000

คำสำคัญ:

ศูนย์การค้า, ร้านค้าปลีก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็กผลกระทบจากศูนย์การค้า

ขนาดใหญ่ ต่อธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็ก และเพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ประชากร

ได้แก่ เจ้าของกิจการร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จำนวน 763 คน การกำหนดขนาด

ตัวอย่าง โดยการใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน และการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มอย่าง 260 คน เครื่องมือวิจัยคือ

แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีขนาดของร้าน

หนึ่งคูหา (32 ตร.ม.) สถานที่ตั้งของร้านอยู่ในหมู่บ้าน มีที่จอดรถของร้านจอดรถได้ 1-5 คัน มีระยะห่างของร้าน

จากศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 501-1,000 เมตร มีลูกจ้างในร้านจำนวน 1คน เวลาเปิดให้บริการ 13-16 ชม. ต่อวัน

มีประเภทของสินค้าของใช้ในชีวิตประจำวันจำหน่ายมากที่สุด และมียอดขายปัจจุบันโดยประมาณ 2,001-3,000

บาทต่อวัน ผลกระทบจากศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ต่อธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์

ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีผลกระทบสูงที่สุด ได้แก่ ผลกระทบด้าน

ผลิตภัณฑ์ รองลงมา ผลกระทบด้านการส่งเสริมการขาย ผลกระทบด้านการจัดจำหน่าย และผลกระทบด้าน

ราคา แนวทางการปรับตัวของร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า

ด้านที่มีแนวทางการปรับตัวสูงที่สุด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการจัดจำหน่าย

และด้านราคา ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีแนวทางการปรับตัวสูงที่สุด ได้แก่ ควรมีสินค้า

ที่มีคุณภาพมากขึ้น ควรมีป้ายราคาติดชัดเจนมากขึ้น ควรมีบริการสั่งจองสินค้าหรือโทรสั่งจองสินค้าได้ และควร

มีการขยายเวลาเปิดปิดร้านมากขึ้น

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2015-01-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย