อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และบรรยากาศองค์การต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • พนมพร ชมภู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์ 60000

คำสำคัญ:

ทรัพยากรมนุษย์, บรรยากาศองค์การ, ผลการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ บรรยากาศองค์การ และผลการปฏิบัติ

งาน และ ความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และบรรยากาศองค์การต่อผลการปฏิบัติงาน ประชากร

ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,146 กำหนดขนาด

กลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางของเครซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน

เครื่องมือวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัยพบว่า การจัดการทรัพยากร

มนุษย์ ด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการกระตุ้นจูงใจบุคลากร ด้านการบำรุง

รักษาบุคลากร และด้านการยุติการจ้างงาน มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 6.40 ถึง 6.54 บรรยากาศองค์การ ด้านโครงสร้าง

องค์การ ด้านความรับผิดชอบในงานของบุคคล ด้านความอบอุ่นและการสนับสนุน ด้านการให้รางวัลและการลงโทษ

ด้านความขัดแย้งและความอดทนต่อความขัดแย้ง ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานและความคาดหวัง ด้านความเป็น

อันหนึ่งอันเดียวกันและความจงรักภักดี และด้านความเสี่ยงและการยอมรับความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ย ระหว่าง 6.36

ถึง 6.44 ผลการปฏิบัติงานมากที่สุด ได้แก่ การปรับตัวการควบคุมอารมณ์ รองลงมา ความเชื่อถือไว้ใจ และความ

สามารถในการใช้อุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 6.43 ถึง 6.59 การจัดการทรัพยากรมนุษย์สามารถอธิบายการผันแปร

ของการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 29.4 โดยมีด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการกระตุ้นจูงใจบุคลากร ด้านการบำรุงรักษา

บุคลากร และด้านการยุติการจ้างงาน มีผลแบบผกผันกับการปฏิบัติงาน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อผลการปฏิบัติ

งาน และบรรยากาศองค์การสามารถอธิบายการผันแปรของการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 12.8 โดยมีด้านความรับผิด

ชอบในงานของบุคคล ด้านการให้รางวัลและการลงโทษ และด้านความเสี่ยงและการยอมรับความเสี่ยง มีผลแบบ

ผกผันกับการปฏิบัติงาน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อผลการปฏิบัติงาน

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2015-01-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย