การพัฒนาวัฒนธรรมโรงเรียนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • สัมฤทธิ์ ทองทับ โรงเรียนเขมราฐ, อุบลราชธานี 34170
  • อุทัย ภิรมย์รื่น มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, อุบลราชธานี 34000

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมโรงเรียน, โรงเรียนประถมศึกษา, คุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์วัฒนธรรมโรงเรียน ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

กับวัฒนธรรมโรงเรียน และพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมโรงเรียนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ประชากรได้แก่

โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่

กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนระดับประถมศึกษา 370 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้าวิชาการและครู

ผู้สอน จำนวน 1,130 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามระดับความคิดเห็น 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ .84

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์

เนื้อหา Multiple regression analysis และ Path Analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์วัฒนธรรมโรงเรียน

เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษามีสามองค์ประกอบคือ 1) วัฒนธรรมโรงเรียน 2) คุณภาพการศึกษาและ 3) ประสิทธิผล

ของโรงเรียน มีองค์ประกอบย่อยคือ 1) วัฒนธรรมการบริหารโรงเรียน 2) วัฒนธรรมของคณะกรรมการสถานศึกษา

3) วัฒนธรรมของครู 4) คุณภาพของหลักสูตร 5) คุณภาพของผู้เรียน 6) คุณภาพของสิ่งแวดล้อม 7) ประสิทธิผล

การวัดผลและประเมินผลและ 8) ประสิทธิผลการบริหารจัดการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ามีระดับการดำเนิน

การในระดับมากทั้ง 3 ด้านที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.30 2) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบวัฒนธรรมโรงเรียนเพื่อส่ง

เสริมคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยวัฒนธรรมโรงเรียน คุณภาพการศึกษา และประสิทธิผลของโรงเรียนมีความ

สัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมโรงเรียนเพื่อส่งเสริม

คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ด้านวัฒนธรรมโรงเรียนและคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์

กับประสิทธิผลของโรงเรียนในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยเกี่ยวกับรูปแบบ

การพัฒนาร้อยละ 100 และเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียนร้อยละ 94.53

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2015-01-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย