ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

Suwisa Tayatong
Chamaipon Ratanacharoenchai
Jarassri Nomee

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 527 บริษัท ตัวแปรโครงสร้างผู้ถือหุ้นวัดจากสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย และผู้ถือหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ สัดส่วนการถือหุ้นโดยคณะกรรมการบริษัท สัดส่วนการถือหุ้นโดยนักลงทุนสถาบันในประเทศ สัดส่วนการถือหุ้นโดยนักลงทุนสถาบันการต่างประเทศ และสัดส่วนการถือหุ้นโดยหน่วยงานรัฐบาลซึ่งมีส่วนร่วมในการบริหารงานและกำหนดนโยบายของกิจการ โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ เพื่ออธิบายอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อการกำกับดูแลกิจการ ผลการศึกษาพบว่าการถือหุ้นแบบกระจายตัวซึ่งวัดได้จากสัดส่วนจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ ผลการศึกษาสามารถระบุได้ว่าสัดส่วนการถือหุ้นที่มีความหลากหลายและสัดส่วนการถือหุ้นโดยนักลงทุนสถาบันเป็นปัจจัยที่ช่วยในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการกำกับดูแลกิจการ 

Article Details

How to Cite
Tayatong, S., Ratanacharoenchai, C., & Nomee, J. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 38(4), 66–80. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/176628
บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับ บริษัทจดทะเบียนปี 2555. สืบค้นเมื่อ8 มีนาคม 2560, จาก https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/cg/files/2013/CGPrinciple2012Thai-Eng.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560. สืบค้นเมื่อ8 มีนาคม 2560, จากhttps://www.cgthailand.org/microsite/documents/CGCode.pdf

ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร. (2557). Sarbanes-Oxley Act และการกำกับดูแลกิจการในต่างประเทศ สู่ธรรมาภิบาลในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 35(4), 92-119.

ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร. (2559). ผลคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการกับมูลค่าธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มดัชนี SET 50: บทบาทและความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 9(1). 31-45.ฅ

ภาณุพงษ์ โมกไธสง, สุพรรณี บัวสุข, เกตุจันทร์ จำปาไชยศรี, และรวี ลงกาปี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการ โครงสร้างของผู้ถือหุ้น ต้นทุน ตัวแทน กับ คุณภาพกำไรของกิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 7(1), 1-10.

วรกมล เกษมทรัพย์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของกิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การศึกษาอิสระ ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สถาบันกรรมการบริษัทไทย. (2560). Corporate governance report of Thai listed companies: 2016. สืบคืนเมื่อ 1 กันยายน 2560, จาก https://www.thai-iod.com/imgUpload
/CGR%202016%20Report(1).pdf

สุรางค์ เห็นสว่าง. (2561). ผลกระทบจากระดับคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการและโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่อผลตอบแทนส่วนเกินและผลประกอบการเชิงการเงิน : การศึกษาเชิงประจักษ์ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 3(2), 35-51.

Ang, J. S., & Ding, D. K. (2006). Government ownership and the performance of government-linked companies: The case of Singapore. Journal of Multinational Financial Management, 16(1), 64-88.

Anum Mohd Ghazali, N. (2010). Ownership structure, corporate governance and corporate performance in Malaysia. International Journal of Commerce and Management, 20(2), 109-119.

Claessens, S., Djankov, S., & Lang, L. H. (2000). The separation of ownership and control in East Asian corporations. Journal of Financial Economics, 58(1-2), 81-112.

Darmadi, S. (2016). Ownership concentration, family control, and auditor choice: Evidence from an emerging market. Asian Review of Accounting, 24(1), 19-42.

Davis, J. H., Schoorman, F. D., & Donaldson, L. (1997). Toward a stewardship theory of management. Academy of Management Review, 22(1), 20-47.

Fama, E. F., & Jensen, M. C. (1983). Separation of ownership and control. The Journal of Law and Economics, 26(2), 301-325.

Graves, S. B., & Waddock, S. A. (1994). Institutional owners and corporate social performance. Academy of Management Journal, 37(4), 1034-1046.

Haniffa, R. M., & Cooke, T. E. (2002). Culture, corporate governance and disclosure in Malaysian corporations. Abacus, 38(3), 317-349.

La Porta, R., Lopez-de-Silanes, F., & Shleifer, A. (1999). Corporate ownership around the world. The Journal of Finance, 54(2), 471-517.

Shleifer, A., & Vishny, R. W. (1997). A survey of corporate governance. The Journal of Finance, 52(2), 737-783.