มูลเหตุการค้างชำระหนี้ในระบบ: กรณีศึกษา เกษตรกรในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

Guntpishcha Gongkhonkwa

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ 1) ศึกษาพฤติกรรมการชำระหนี้ของเกษตรกร 2) ศึกษาระดับความรู้ทางการเงินของเกษตรกร และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหนี้ที่ค้างชำระของเกษตรกร โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพะเยาจำนวน 405 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายปิด ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรในจังหวัดพะเยามีการกู้ยืมมากกว่า 1 สัญญา จึงเป็นสาเหตุทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และเกษตรกรยังมีจำนวนค่าใช้จ่ายที่มากกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องชำระ จึงทำให้บางครั้งต้องทำการกู้ยืมเงินเพื่อนนำมาชำระหนี้ มากไปกว่านั้นเกษตรกรยังมีทักษะทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ วิธีการคำนวณจำนวนดอกเบี้ย และกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ จึงเป็นสาเหตุของการค้างชำระหนี้ด้วย สำหรับผลการวิเคราะห์ถดถอยผู้วิจัย พบว่า 1) ความรู้ทางการเงินมีความสัมพันธ์กับจๆนวนหนี้ที่ค้างชำระ และ 2) ลักษณะนิสัยในการชำระหนี้ของเกษตรกรมีความสัมพันธ์กับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ

Article Details

How to Cite
Gongkhonkwa, G. (2019). มูลเหตุการค้างชำระหนี้ในระบบ: กรณีศึกษา เกษตรกรในจังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 39(1), 1–21. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/181656
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). จำนวนผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2560, จาก https://www.agriinfo.doae.go.th/year59/general/population/rfs58.pdf

ชยันต์ ตันติวัสดาการ. (2556). เศรษฐศาสตร์จุลภาค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐภัทร คำสิงห์วงษ์, และสุภาภรณ์ พวงชมพู. (2558). การวางแผนชำระหนี้ของเกษตรกรรายย่อยด้วยบัญชีครัวเรือน กรณีศึกษา ลูกค้าเกษตรกรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขายางหล่อ
อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10, 81-92.

ทิพย์ญา ภิรมย์, และบุษกร ถาวรประสิทธิ์. (2555). การผิดนัดชำระหนี้ของครัวเรือน: กรณีศึกษา อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2560, จาก https://www2.tsu.ac.th/ecba/UserFiles/%E0%B8%9A%E0%B8%B8 %E0%B8%A9%E0%B8% 81%E0%B8%A3.pdf

ธนาคารออมสิน. (2560). รายงานผลการศึกษาภาวะหนี้สินของครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยของประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2560, จาก https://www.gsb.or.th/getattachment /18ff544a-088d-40a5-
8595-6ef0cc0a3973/รายงานผลการศึกษาภาวะหนี้สินของครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยของประเทศไทย.aspx

นภาพร ลิมประพันธุ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตจังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

บุษกร ถาวรประสิทธิ์. (2555). การเงินและการธนาคาร. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2558). การบริหารการเงินส่วนบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

วัชรพล วิลาวรรณ, และสุภาภรณ์ พวงชมพู. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ทางการเกษตรของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. แก่นเกษตร,43(1), 243-252.

สมฤทัย บัวกิ่ง, พินิจ ดวงจินดา, และอรจันทร์ ศิริโชติ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยทักษิณ,สงขลา.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). รายได้และรายจ่ายครัวเรือนเกษตร ปี 2555-2559. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560, จาก https://www.oae.go.th/oaenew/OAE/

สุขใจ น้ำผุด, อนุชนาฏ เจริญจิตรกรรม, และสมนึก วิวัฒนะ. (2557). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2555). การเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Annageldy, A. (2016). Assessing sovereign debt default by efficiency. The Journal of Economic Asymmetries, 13, 100-113.

Kartik, B. (2008). Default, insurance, and debt over the life-cycle. Journal of Monetary Economics, 55, 752-774.

Matthieu, C., & Peter, F. (2013). Worker’s debt, default and the diversity of financial fragilities.Structural Changed and Economic Dynamics, 27, 48-65.