อิทธิพลของค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อมและความมีนวัตกรรมของผู้บริโภค ต่อความตั้งใจติดตั้งใช้ระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ อิทธิพลของค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อมและความมีนวัตกรรมของผู้บริโภคต่อความตั้งใจติดตั้งใช้ระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 รายที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีโครงสร้าง สถิติวิเคราะห์ที่ใช้ได้แก่การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยชี้ว่าโมเดลตามสมมติฐานที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยสถิติที่แสดงความสอดคล้องดีได้แก่ ค่าไคสแควร์มีค่าเท่ากับ 50.840 องศาอิสระ (df.) เท่ากับ 37 ค่า p เท่ากับ .064 ไคสแควร์สัมพัทธ์เท่ากับ 1.370 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .980 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.000 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .031 จึงสรุปได้ตามโมเดลทางทฤษฎีว่า ค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อมและความมีนวัตกรรมของผู้บริโภคมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจติดตั้งใช้ระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ โดยตัวแปรภายนอกทั้งสองสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจติดตั้งใช้ระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ของผู้บริโภคได้ร้อยละ 62
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
Caird, S., and Roy, R. 2007. Consumer Adoption and Use of Household Renewable Energy Technologies. Milton Keynes, United Kingdom: The Open University.
Cestre, G. 1996. “Diffusion of Innovation: Definition, Modelization of Measurement.” Research and Applied Marketing 11, 1: 69-88.
Chulalongkorn University. Energy Research Institute. 2015. Scaling up solar PV: A Roadmap for Thailand [Online]. Available: https://www.dede.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=42058.
Cronbach, L. J. 1951. “Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests.” Psychometrika 16, 3: 297-334.
Fraj, E., and Martinez, E. 2006. “Environmental Values and Lifestyles as Determining Factors of Ecological Consumer Behavior: An Empirical Analysis.” Journal of Consumer Marketing 23, 3: 133-144.
Hartmann, P., and Apaolaza-Ibanez, V. 2012. “Consumer Attitude and Purchase Intention toward Green Energy Brands: The Roles of Psychological Benefits and Environmental Concern.” Journal of Business Research 65: 1254-1263.
Hooper, D., Coughlan, J., and Mullen, M. 2008. “Structural Equation Modeling: Guidelines for Determining Model Fit.” Electronic Journal of Business Research Methods 6, 1: 53-
60.
Kaiser, F.G., Wolfing, S., and Fuhrer, U. 1999. “Environmental Attitude and Ecological Behavior.” Journal of Environment Psychology 19: 1-19.
Kim, H.Y., and Chung, JE. 2011. “Consumer Purchase Intention for Organic Personal Care Products.” Journal of Consumer Marketing 28, 1: 40-47.
Lealaphan, Acharapan and Launglaor, Wisanu. 2014. “Attitudes and Behavior of Bangkok Residents regarding Reducing the Use of Plastic Bags.” University of the Thai
Chamber of Commerce Journal 34, 1: 70-86. (in Thai).
อัจฉราพรรณ ลีฬพันธ์ และวิษณุ เหลืองลออ. 2557. “เจตคติและพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกของประชาชนในกรุงเทพมหานคร.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 34, 1: 70-86.
Midgley, D.F., and Dowling, G.R. 1978. “Innovativeness: the Concept and Its Measurement.”Journal of Consumer Research 4: 229-242.
Parkinson, G. 2015. Deutsche Bank: solar at grid parity in most of world by 2017 [Online]. Available: https://www.energypost.eu/deutsche-bank-solar-grid-parity-world-2017/.
Ramayah, T., Lee, JWC., and Mohamad, O. 2010. “Green Product Purchase Intention: Some Insights from a Development Country.” Conservation and Recycling 54: 1419-1427.
Steenkamp, J-B.E.M., Hofstede, F., and Wedel, M. 1999. “The Use of Lisrel in Validating Marketing Construct.” International Journal of Research Marketing 8: 283-299.
Thailand. Ministry of Energy. Energy Policy and Planning Office. 2015. Thailand Electric Power Development Plan 2015-2036 [Online]. Available: https://www.eppo.go.th/power/
PDP2015/PDP2015.pdf. (in Thai).
กระทรวงพลังงาน. สำนักนโยบายและแผนพลังงาน. 2558. แผนพัฒนากำลังไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 [ออนไลน์] เข้าถึงจาก: https://www.eppo.go.th/power/PDP2015/PDP2015.pdf.
Thailand. Ministry of Information and Communication Technology. National Statistical Office of Thailand. 2015. The 2011 Keys Statistics of Thailand [Online]. Available:
https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/pubsfiles/Key54_T.pdf. (in Thai).
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2554. ประมวลสถิติสำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2554 [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/pubsfiles/Key54_T.pdf.
Thiangtam, Saranyapong. 2004. Consumer Behavior 2nd ed. Bangkok: Textbooks and Lectures Department, Bangkok University. (in Thai)
ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. 2547. พฤติกรรมผู้บริโภค พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: แผนกตำราและคำสอน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis 3rd ed. New York: Harper and Row.