การรับรู้และความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารสภากาชาดไทยของ บุคลากรสภากาชาดไทยและประชาชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์สภากาชาดไทยโดยบุคลากรสภากาชาดไทยและประชาชน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของบุคลากรสภากาชาดไทยและประชาชน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ของสภากาชาดไทยระหว่างบุคลากรสภากาชาดไทยและประชาชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและพรรณนา (Survey and Descriptive Research) โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากแบบสอบถาม 1,021 ฉบับ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนใน 13 จังหวัด 554 ฉบับ และ บุคลากรของสภากาชาดไทย 467 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรสภากาชาดไทยและประชาชนมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์สภากาชาดไทยดังนี้ ก) ด้านช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ รับรู้ผ่านโรงพยาบาล / รถพยาบาล (37.02%) จดหมายข่าวกาชาดสัมพันธ์ (41.89%) โทรทัศน์/เคเบิลทีวี (19.92%) งานกาชาดประจำปี (35.65%) Website ของสภากาชาดไทย (32.43%) และ รายการ "กาชาดเพื่อคุณ” ทางสถานีโทรทัศน์ NBT (34.08%) ข) ด้านเนื้อหาข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ รับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบสาธารณภัยมากที่สุด (11.34%) ค) ด้านการให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสารฯโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.08); (2) มีความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ข่าวสารฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.54); และ (3) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ของสภากาชาดไทยระหว่างบุคลากรสภากาชาดไทยและประชาชน พบว่า ในภาพรวมประชาชน (Mean = 3.60) มีความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ของสภากาชาดไทย สูงกว่า บุคลากรสภากาชาดไทย (Mean = 3.47) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
Darawong, Chonlatis. 2015. “Knowledge Management in Product Development Teams for New Product Success.” University of the Thai Chamber of Commerce Journal 35, 2: 161-173. (in Thai).
ชลธิศ ดาราวงษ์. 2558. “การจัดการความรู้ในทีมพัฒนาผลิตภัณธฑ์ใหม่เพื่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ใหม่.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 35, 2: 161-173.
Srisai, S. 2011. “Saang Kwaamprataabjai: The influence of Wattana-dharm Thai on Thai PR Practice [Impression Building: The influence of Thai Culture on Thai PR Practice].” Doctoral dissertation, Department of Film, Media, and Journalism, University of Stirling.
Srisai, Suttanipa. 2012. “Thai PR: Old Wisky in New Bottle.” In Poj Jaichansukit (ed.), Turning Point of Communication: Communication Change, pp. 30-33. Bangkok: Thailand Public Relations Association. (in Thai).
สุทธนิภา ศรีไสย์. 2555. “พีอาร์ไทย: เหล้าเก่า ในขวดใหม่.” ใน พจน์ ใจชาญสุขกิจ (บรรณาธิการ), จุดเปลี่ยนของการสื่อสาร: Communication Change, หน้า 30-33. กรุงเทพมหานคร: สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย.
Thai Red Cross Society. Information and Communications Office. 2013. Perception of Information Created by the Thai Red Cross Society. Bangkok: Thai Red Cross Society.
สภากาชาดไทย. สำนักสารนิเทศและสื่อสารองค์กร. 2556. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของสภากาชาด ไทย. กรุงเทพมหานคร: สภากาชาดไทย.
Wiriyapipat, Nipa. 2012. “KM Problems in Organizations: Issues that Need to be Reviewed.” University of the Thai Chamber of Commerce Journal 32, 2: 101-119. (in Thai).
นิภา วิริยะพิพัฒน์. 2555. “ไขปัญหา KM ในองค์กร: ประเด็นที่ต้องทบทวน.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 32, 2: 101-119.
Yamane, T. 1967. Statistics: An introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.