การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

Suwimol Pichayapaiboon

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง "การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในสถาบันอุดมศึกษา" มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพทั่วไปของการบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในสถาบันอุดมศึกษา และศึกษา ลักษณะความผิดทางอาญาด้านความผิดต่อร่างกาย ความผิดต่อเสรีภาพ ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และความผิดลหุโทษ รวมถึงการศึกษาลักษณะความผิดทางอาญาที่มีอิทธิพล ต่อกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในสถาบันอุดมศึกษา โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ขอบเขตการศึกษาด้านเนื่อหาเป็นการศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ด้านลักษณะความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา ที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่สามารถนำกระบวนการยุติธรรม ทางเลือกมาบังคับใช้ ประกอบด้วย ลักษณะความผิดต่อร่างกาย ลักษณะความผิดต่อเสรีภาพ ลักษณะ ความผิดฐานหมิ่นประมาท ลักษณะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ลักษณะความผิดลหุโทษ ลำหรับขอบเขตด้านประชากร คือ นักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พื้นที่เทคนิคกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ด้วยการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการของยามาเน่ (Yamane) การ วิเคราะห์ข้อมูล สภาพทัวไปจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ และความโด่งของตัวแปร เชิงประจักษ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม PLS-Graph ผลการวิจัยพบว่า ทุกกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือกอยู่ ในระดับ ปานกลางถึงมาก สำหรับลักษณะความผิดทางอาญา ด้านความผิดต่อร่างกาย ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามช่วงเวลา ความผิดฐานลักทรัพย์กรณีใช้อุปกรณ์หรืออาวุธในการลักทรัพย์ ความผิดฐานลักทรัพธ์ ตามวิธีการที่ได้มาชึ่งทรัพย์ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และความผิดลหุโทษ มีอิทธิพลโดยตรง ต่อการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่า ลักษณะการกระทำความผิด ทางอาญาดังกล่าว หากจะดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ควรจัดให้มีกฎหมายรองรับในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางเลือกดังกล่าว

Article Details

How to Cite
Pichayapaiboon, S. (2019). การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 35(1), 79–100. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/192863
บท
บทความวิจัย

References

Bollen, K. and Lennox, R. 1991. ''Conventional Wisdom on Measurement: A Structural Equation Presprctive.'' Psychological Bulletin. 110, 2: 305-314.


Chin, W.W. 2001. PLS-Graph User's Guide Version 3.0. [Online] Available: https://www.pubinfo.vcu.edu/carma/Documents/OCT1405/PLSGRAPH3.0Manual.hubona.pdf


Edward, J.R. and Bagozzi, R.P. 2000. ''On the Nature and Direction of Relationships Between Constructs and Measures.'' Psychological Methods. 5, 2: 155-174.


Keenaphan, Nattha. 2007. Restorative Justice of Juvenile [Online]. Available: http.//www.unicef.org/thailand/tha/reallives_7299.html (in Thai).


ณัฐฐา กีนะพันธ์. 2550. กระบวนการยุทติธรรมสำหรับเด็ก [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http.//www.unicef.org/thailand/tha/reallives_7229.html


Lauro, C. and Vinzi, V.E. 2002. Some Contributions to PLS Path Modeling and System for the European Customer Satisfaction [Online]. Available https://www.sis-statica.it/files/pdf/atti/RSMi0602p201-210.pdf


Piritakul, Montree. 2010. Partial Least Square Path Modeling (PLS path Modeling) [Online] Available: https://www.ru.ac.th/research/30-7-53-1.pdf (in Thai).


มนตรี พิริยะกุล. 2553. Partial Least Square Path Modeling (PLS Path Modeling) [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://www.ru.ac.th/research/30-7-53-1.pdf


Sangchai, Jiramond.2012. ''The General Public lmage of The Current Thai Mass Media.'' University of the Thai Chamber of Commerce Journal 32, 3: 98-114. (in Thai).


จิรมน สังณ์ชัย. 2555. ''ภาพลักษณ์ของสื่อมวลชนไทยในทัศนะของสาธารณชน.'' วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 32, 3: 98-114.


Tengpongsathorn, Wutthichai. 2011. ''The Causes of Prostitution from Criminological View.'' University of the Thai Chamber of Commerce Journal 31, 3: 133-149. (in Thai).


วุฒิชัย เต็งพงศธร. ''มูลเหตุของการค้าประเวณีในมุมมองเชิงอาชญาวิทยา.'' วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 31, 3: 133-149.

Thailand. Department of Juvenile Observation and Protection. 2011. The Juvenile is Being Prosecuted by OBSERVATION by Offenses in the Country, Classified According to the Type of Drug, Between 2008-2012 [Online]. Avaialble: https://www2.djop.moj.go.th/stat/upload/backupload/back53_drug%20categoties.pdf (in Thai).


กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. 2554. จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถาพินิจฯ ทั่วประเทศ จำแนกตามฐานความผิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2555[ออนไลน์] เข้าถึงจาก: http//www2.djop.moj.go.th/stat/upload/backupload/back53_drug%20categoties.pdf


Yamane, Taro. 1973. Statistics an lntroduction Analysis. 2nd ed. New york: Harper & Row.