การสิเคราะห์บทบาทของการค้าขายชายแดนและการท่องเที่ยวต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

Paweena Leetrakun

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทของการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวต่อ    ความแก้ไขปัญหายากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการวิจัยแบบผสม ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 653 ครัวเรือนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผลการศึกษาพบว่าครัวเรือนที่ประกอบอาชีพด้านการค้าชายแดนมีสัดส่วนความยากจนน้อยกว่าครัวเรือนที่ประกอบการด้านเกษตรและการท่องเที่ยว และเมื่อการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของครัวเรือนพบว่า ค่า Gini เท่ากับ 0.4398 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ  และครัวเรือนประกอบอาชีพ   ด้านการค้าชายแดนมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้มากที่สุด ในขณะที่ครัวเรือนประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยวมีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด เมื่อวิเคราะห์จากแบบจำลองทางเศรษฐมิติพบว่า บทบาทของการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวต่อการหลุดพ้นจากความยากจนและความเหลื่อมล้ำในเขตเศรษฐกิจพิเศษ    เชียงของไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการหลุดพ้นจากความยากจนและความเหลื่อมล้ำ    ด้านรายได้ กลับเป็นปัจจัยด้านการศึกษา การทำงานในระบบ ภาระพึ่งพิงในครัวเรือน สวัสดิการทางเศรษฐกิจและการออมในครัวเรือน อย่างไรก็ตามครัวเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ส่งเสริมทางการค้าและการท่องเที่ยวยังมีโอกาสการหลุดพ้นความยากจน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95  จากผลการศึกษานำมาซึ่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยภาครัฐควรสนับสนุนการสร้างกิจกรรมที่เกี่ยวกับด้านการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวและขยายพื้นที่ส่งเสริมการและการท่องเที่ยวในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ นอกจากนี้รัฐมิควรละเลยการส่งเสริมการทำงานในระบบ การลดภาระพึ่งพิงในครัวเรือน  การส่งเสริมให้เกิดการออมในครัวเรือนซึ่งส่งผลให้เกิดการหลุดพ้นจากความยากจนและความเหลื่อมล้ำ   ด้านรายได้ไปพร้อมๆกัน

Article Details

How to Cite
Leetrakun, P. (2019). การสิเคราะห์บทบาทของการค้าขายชายแดนและการท่องเที่ยวต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 39(4), 33–54. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/231578
บท
บทความวิจัย

References

กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์, จิตติชัย รุจนกนกนาฏ, ภาณุทัต สัชฌะไชย, โสตถิธร มัลลิกะมาส, พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ, เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา, ... ชนิกานต์ วงศ์แม้นเทพ. (2557). รายงานสรุปเชิงนโยบาย โครงการวิจัยเรื่องแนวทางและมาตรการเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่แนวชายแดนของไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนา. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ฉบับทบทวนพ.ศ. 2563. เชียงราย: สำนักงานจังหวัดเชียงราย.

กอบศักดิ์ ภูตระกูล. (2556). คุณภาพการเจริญเติบโตจากมิติการกระจายรายได้. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/Pages/Symposium2556.aspx

ปวีณา ลี้ตระกูล, และณัฐสุชน อินทราวุธ. (2554) . บทบาทของการค้าชายแดนต่อการกระจายรายได้และความยากจนในจังหวัดเชียงราย.วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 29(3),1-34.

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2561). การพัฒนาการค้าระหว่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนประเทศกำลังพัฒนาสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษากลุ่มประเทศ GMS: กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Bigsten, A., Kebede, B., & Shimeles, A. (2002). Growth and poverty in Ethiopia: Evidence from household panel surveys. World Development, 31(1), 87-106.


Cattarinich, X. (2001). Pro-poor tourism initiatives in developing countries: Analysis of secondary case studies. Retrieved July 12, 2018, from http://www.proporrtourism.org.uk

Fields, G. S., & Yoo, G. (2000). Falling labor income inequality in Korea’s economic growth: Patterns and underlying causes. Retrieved July 12, 2018, from http://digitalcommons.ilr.cornell.edu/articles/1107

Foster, J., Greer, J., & Thorbecke, E. (1984). A class of decomposable poverty measures. Econometrica, 52(3), 761-776.

Heintz, J., & Vanek, J. (2007). Employment, the informal sector, and poverty: Data and analytical challenges. Retrieved July 12, 2018, from http://www.wiego.org/sites/default/files/publications/files/ Heintz_Vanek_China-IndiaPovertyandEmployment.pdf

Khontaphane, S., Insisiangmay, S., & Nolintha, V. (2006). Impact of border trade in local livelihoods: Lao-Chinese border trade in Luang Namtha and Oudomxay Provinces. Vientiane, Laos: UNDP.

Krishna, P., Mitra, D., & Sundaram, A. (2010). Trade, poverty and the lagging regions of south Asia. Retrieved July 12, 2018, from http://www.nber.org/papers/w16322.pdf

Manna, R., & Reogoli, A. (2012). Regression-based approaches for the decomposition of income inequality in Italy, 1998-2008. Rivista di Statistical Ufficiale, 14(1), 5-18.

Nissanke, M., & Thorbeck, E. (2010). Globalization, poverty, and inequality in Latin America: Findings from case studies. World Development, 38(6), 797-802.

Panpiemras, J., Chalamwong, Y., & Bhuthong, P. (2007). Do location and border trade activity matter in the presence of cross-border economic integration? TDRI Quarterly Review, 22(2), 5-18.

Pavencik, N. (2017). The impact of trade on inequality in developing countries. Retrieved July 12, 2018, from https://www.kansascityfed.org/~/media/files/publicat/sympos/ 2017/Pavencik-paper.pdf

Ravallion, M. (2006). Looking beyond averages in the trade and poverty debate. World Development, 34(8), 1374-1392.

Spilimbergo A., Londono J. L., & Szekely, M. (1999). Income distribution, factor endowments, and trade openness. Journal of Development Economics, 59(1). 77-101.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.