การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเรือสำราญ ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
เรือสำราญในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย รวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวเรือสำราญในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทั้งภาครัฐและ
ภาคเอกชนจำนวน 19 ท่าน ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย รอบที่ 1 โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่ง
มีโครงสร้าง และนำผลสัมภาษณ์มาสร้างแบบสอบถามปลายปิดแบบมาตราส่วนประเมินค่าในรอบที่ 2 และ
รอบที่ 3 จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามในรอบที่ 3 โดยการหาค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าสัมบูรณ์
ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ซึ่งเกณฑ์ในการพิจารณาข้อความ
ที่ได้รับฉันทามติ คือ ต้องมีค่ามัธยฐานไม่ต่ำกว่า 3.50 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 และ
มีค่าสัมบูรณ์ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00 ผลการวิจัย พบว่า
ในภาพรวมผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นด้วยอย่างอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุด (Md = 5.00, Mo = 5.00,
|Md-Mo| = 0.00, IR = 0.70) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลตามองค์ประกอบการจัดการแหล่งท่องเที่ยว พบว่า
ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นด้วยอย่างสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านการตลาดการท่องเที่ยว และด้านการบริหาร
จัดการนักท่องเที่ยว ตามลำดับ
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
กรมการท่องเที่ยว. (2557). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, กลุ่มวิชาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). คู่มือแนวทางการจัดการที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท. กรุงเทพฯ:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ชมภูนุช หุ่นนาค. (2558). การศึกษาความเชื่อมโยงของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(2), 113-124.
นครินทร์ ทั่งทอง และเพชรศรี นนท์ศิริ. (2562). การเสริมสร้างประสบการณ์ความทรงจำพิเศษของนักท่องเที่ยวเรือสำราญในท่าเรือแวะพักเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 14(3), 41-55.
ปรัชมาศ ลัญชานนท์ อัจฉรี เหมสันต์ และบรรจง สมบูรณ์ชัย. (2556). ความเชื่อมโยงของกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่. ใน การประชุมวิชาการภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 ก้าวสู่สีเขียวยั่งยืน, 5-6 ธันวาคม 2556 (น. 110-126). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม.
ไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2558). การท่องเที่ยวเรือสำราญ กับความท้าทายของประเทศไทย. TAT Review Magazine, 4(1), 45-49.
ไพฑูรย์ มนต์พานทอง สัญชัย เกียรติทรงชัย และนงเยาว์ ประสมทอง. (2561). การศึกษาประเด็นเร่งด่วนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ภณสิทธ์ อ้นยะ ณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ รัชต วรุณสุขะศิริ และชวลีย์ ณ ถลาง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 75-86.
มนตรี สังข์ทอง ศศินันท์ ศาสตร์สาระ กิตติพงษ์ โสภณธรรมภาณ และเอกวิศว์ สงเคราะห์. (2560). แนวทางการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสิงห์บุรี. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ.
ราณี อิสิชัยกุล รชพร จันทร์สว่าง และวัฒนา โชคสุวณิช. (2561). ปัญหาและอุปสรรคการเป็นท่าเรือสำราญหลักในกลุ่มท่องเที่ยวอันดามัน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 38(4), 81-106.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/sites/default/files/3%20-%20แผนการพัฒนาท่องเที่ยว%20EEC.pdf
สุรพร มุลกุณี. (2560). แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทยกรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุรพร มุลกุณี และไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2560). พฤติกรรมและคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวเรือสำราญในการเดินทางท่องเที่ยวยังท่าเรือของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง. วารสารรัชต์ภาคย์ฉบับพิเศษครบรอบ 23 ปี, 175-187.
Busby, G., & O’Neill, J. (2013). Port of call: In search of competitive advantage. European Journal of Tourist, 4(1), 123-160.
Chen, C.-A. (2016). How can Taiwan create a niche in Asia’s cruise tourism industry? Tourism Management, 55, 173-183. doi.org/10.1016/j.tourman.2016.02.015
Cruise Gateway North Sea. (2013). Sustainable cruise tourism in the North Sea Region: Summary of a best practice guide. Retrieved from http://archive.northsearegion.eu/files/repository/20130523174329_CruiseGateway_Best_practice_guide_Sustainability_Summary.pdf
Cruise Lines International Association. (2014). 2014 state of the cruise industry report. Retrieved from https://prnewswire2a.akamaihd.net/p/1893751/sp/189375100/thumbnail/entry_id/0_9z160blq/def_height/400/def_width/400/version/100012/type/1
Cruise Lines International Association. (2018). 2018 Asia cruise industry ocean source market report.Retrieved from https://cruising.org/-/media/research-updates/2018-asia-ocean-sourcemarket.pdf
Cruise Lines International Association. (2019). 2019 Asia cruise deployment & capacity report.Retrieved from https://cruising.org/-/media/research-updates/research/2019-asiadeployment-and-capacity---cruise-industryreport.ashx
Cruise Lines International Association. (2021). 2021 state of the cruise industry outlook. Retrieved from https://cruising.org/-/media/research-updates/research/2021-state-of-the-cruiseindustry_optimized.ashx
Dalkey, N., & Helmer, O. (1963). An experimental application of the delphi method to the use of experts. Management Science, 9(3), 458-467.
Gibson, P. (2006). Cruise operations management. Oxford, England: Butterworth-Heinemann.
Gibson, P. (2012). Cruise operations management (2nd ed.). London, England: Routledge.
Kurth-Schai, R., Poolpatarachewin, C., & Pitiyanuwat, S. (1998). Using the delphi cross-culturally:toward the development of policy. In J. Cogan, & R. Derricott (Eds.), Citizenship forthe 21st century (pp. 77-92). London, England: Kogan.
Macmillan, T. T. (1971). The delphi technique. Paper presented at the Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development.
Port-Net. (2007). Challenges and future trends: Ports and passengers in Europe – The Baltic range(Tallinn, Riga, Klaipeda and Kaliningrad). Bicol, Philippines: Author.
Satta, G., Parola, F., Penco, L., & Persico, L. (2015). Word of mouth and satisfaction in cruise port destinations. Tourism Geographies, 17(1), 54-75. doi.org/10.1080/14616688.2014.938689
Tan, K. (2009). Growth of cruise tourism in Asia. Retrieved November 2, 2020, from https://slideplayer.com/slide/6061191/
Yi, S., Day, J., & Cai, L. A. (2011). Exploring Asian cruise travelers’ travel experience and perception.Retrieved from https://scholarworks.umass.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1245&context=gradconf_hospitality.