พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหงใน 7 ปัจจัย อีกทั้งยังศึกษาความสัมพันธ์ พัฒนาโมเดลเชิงทำนายและศึกษาความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ การวิจัยมี 2 ส่วน 1) แบบสอบถาม 400 ชุด การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง 2) สัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่ในระดับน้อย ระยะเวลาที่ใช้ในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่ามีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์มากกว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ได้แก่ ความรุนแรงในครอบครัว อิทธิพลความรุนแรงจากเพื่อน บุคลิกภาพของเพื่อน สถานการณ์จริงในชีวิต สมการทำนายพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ Y = 2.153 – 0.253 X1 – 0.127 X3 + 0.235 X4 + 0.217 X6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านครอบครัว (X1) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านเพื่อน (X4) ปัจจัยด้านประสบการณ์ส่วนบุคคล (X6) และปัจจัยด้านการคุย แชท นัดเจอหรือรับเป็นเพื่อนกับคนแปลกหน้า (X3) ตามลำดับ สามารถทำนายพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ได้ร้อยละ 16.20 ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
การแก้ไขพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ทุกฝ่ายได้แก่ ครอบครัว เพื่อน ตัวเด็กเอง และครู/อาจารย์ ต้องร่วมมือกันใน 3 ระดับ คือ 1) การให้ความรู้ ความเข้าใจเพื่อป้องกัน 2) การฝึกฝนให้เกิดทักษะภูมิคุ้มกัน และ 3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ หน่วยงานภาครัฐและสถานศึกษามีการบูรณาการทำงานเชิงรุก เพื่อจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
Archaphet, N. (2017). Cyberbullying: Aggressive misbehavior and innovation for solution. The Journal of Social Communication Innovation, 5(1(9)), 100-106. [in Thai]
Charoenwanit, S. (2017). Cyberbullying: Impacts and preventions in adolescents. Thai Science and Technology Journal, 25(4), 639-648. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/ article/view/75170/60584 [in Thai]
"Cyberbully" is raging evil in the online world. (2021, April 24). Thairath. https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/2075810 [in Thai]
Inthanon, S., & Sermsinsiri, P. (2018). The study of how youth can protect themselves from Cyberbullying. In The 2nd UTCC Academic Day (pp.1396-1046). University of the Thai Chamber of Commerce. [in Thai]
Janyametee, K., & Sripa, K. (2020). The Prevention of deviant behavior from cyberbullying victimization among youths. Warasarn Phuettikammasat, 26(2), 16-41. [in Thai]
Kaewwiset, P., Matayaboon, N., Somboon, L., & Kodyee, S. (2021). Cyber bullying behavioral and related factors of high school students in Mueng district Chiangrai province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(5), 239-253. https://edu.psakserv.com/nmis/pubFile/Pub_294.pdf [in Thai]
Ketsuphan, S. (2019). Cyberbullying: Measurement, clustering and gender’s difference of undergraduate students [Unpublished master’s thesis]. Burapha University. [in Thai]
Lertratthamrongkul, W. (2021). Cyberbullying among secondary school students: Prevalence, problem-solving and risk behaviors. NEU Academic and Research Journals, 11(1), 275-289. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/249043 [in Thai]
Osuwan, H. (2019). Factors affecting cyberbullying behaviors of lower secondary school students in Thailand [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkorn University. [in Thai]
Papattha, C., & Phuphet, N. (2019). Synthesis of causes, consequences, preventions and problem solving of cyber bullying among Thai adolescents. 11th Rajamangala University of Technology National Conference (pp. 525-541). Rajamangala University of Technology. [in Thai]
Phungbangkruay, J. (2020). Cyber bullying risk perception and problem solving of Royal Thai Army personnel. CRMA Journal of Humanities and Social Science, 7(1), 21-36. [in Thai]
Sittichai, R., & Tudkuea, T. (2017). Cyberbullying behavior among youth in the three Southern border provinces, Thailand. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 28(1), 86-99. http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.8 [in Thai]
Surat, P. (2018). Cyber bullying in socio-culture dimensions: Case study of generation Z among Thai youths [Unpublished doctoral dissertation]. Srinakharinwirot University. [in Thai]