การศึกษาผลการเรียนรู้รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา จุ้ยทอง หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ผลการเรียนรู้, นักศึกษาวิชาชีพครู, ห้องเรียนกลับทาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ของนักศึกษาสาขาวิชาชีพครู หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาชีพครู รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาสาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แผนละ 8 ชั่วโมง แบบทดสอบ ผลการเรียนรู้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที แบบกลุ่มเดียว
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการเรียนรู้รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ของนักศึกษาสาขาวิชาชีพครู หลังได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.62, S.D. = 0.66)

References

กันต์ฤทัย คลังพหล. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: ไทยเนรมิต กิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์. (2560). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม Flipped Classroom in 21st Century Learning for Development of Learning and Innovation Skills. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(1), 100-108.

ภานุวัฒน์ สงแสง. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัฐสภา แก่นแก้ว, ณรงค์ สมพงษ์ และณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14(2),189-203.

วรัทยา มณีรัตน์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในระบบออนไลน์ยุคปกติใหม่ โควิด-19 ที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาครูการศึกษาองค์ประกอบในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 16(2): 126-134.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Bergman, J., & Sams, A. (2012). Flip YOUR Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day. [Online], Available: http://ilib.imu.edu.my/NewPortal/images/NewPortal/CompE-Books/Flip-Your-Classroom.pdf. (2565, 23 ตุลาคม)

Reid, S. A. (2016). A flipped classroom redesign in general chemistry. Chemistry Education Research and Practice. 17(4): 914-922.

Trogden, B. G. (2015). ConfChem Conference on Flipped Classroom: Reclaiming Face Time-How an Organic Chemistry Flipped Classroom Provided Access to Increased Guided Engagement. Journal of Chemical Education. 92(9), 1570.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2023