ผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุ ที่มีต่อความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดเกรียงไกร(โพธิ์ประสิทธิ์) จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
วรรณกรรมเป็นฐาน, ความสามารถทางภาษา, ห้องเรียนคละอายุ, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุ ประชากร คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 2 คน และชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 11 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่โรงเรียนวัดเกรียงไกร (โพธิ์ประสิทธิ์) จังหวัดนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และแบบทดสอบความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติไค-สแควร์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุมีความสัมพันธ์กัน ทั้งโดยภาพรวมและจำแนกรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทั้งโดยภาพรวมและจำแนกรายด้าน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจนา วงศ์กรด. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเชิงบูรณาการโดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก PERMA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จินตนา กรุพิมาย. (2559). การพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2560). การส่งเสริมความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.
ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และพิรุณ อนวัชศิริวงศ์. (2561). ปลดล็อกวิกฤตพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยการอ่าน. กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นท์ติ้ง.
นฤมล เนียมหอม. (ม.ป.ป.). ห้องเรียนที่ส่งเสริมการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.nareumon.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2. (2566, 13 กันยายน).
นิภาพร ใจปานแก่น. (2563). ผลของการจัดกิจกรรมโดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบฮาร์ทส ด้วยนิทานพื้นบ้านโคราชที่มีต่อความสามารถทางภาษาด้านการอ่านและเขียนของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเกียรติคุณวิทยา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 6.
โรงเรียนวัดเกรียงไกร (โพธิ์ประสิทธิ์). (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดเกรียงไกร (โพธิ์ประสิทธิ์). นครสวรรค์: โรงเรียนวัดเกรียงไกร (โพธิ์ประสิทธิ์).
สุพรพิศ ผลรักษา. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถทางการสังเกตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนราษฎร์พัฒนา จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุพัสษา บุพศิริ, พจมาน ชำนาญกิจ และสำราญ กำจัดภัย. (2560). ผลการจัดประสบการณ์การแสดงบทบาทสมมติประกอบการเล่านิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางด้านภาษาและการกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(24): 159-166.
สุวรรณา กิจติยา. (2558). ผลการจัดประสบการณ์การเล่านิทานที่มีต่อความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
หนึ่งฤทัย พาภักดี. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการเล่าเรื่องของนักเรียนชั้นอนุบาล 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อรวรรณ น่วมภักดี. (2563). ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่มีต่อความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อัญชลี คล้ายขำ, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร และชลาธิป สมาหิโต. (2564). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 18(3): 195-207.
Piaget, J. (1952). The Original of intelligence in Children. New York: International Universities Press.
Piaget, J. (1959). The language and thoughts of the child. London: Routledge & Kegan Paul.
Vygotsky, L. (1978). Mind in society: The developmental of higher psychological process. Cambridge MA: Harvard University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ทัศวรรณ ละมูล, ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์, ศุภวรรณ์ เล็กวิไล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์