แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

ผู้แต่ง

  • มัสยมาศ รักษ์สาคร โรงเรียนหนองแค “สรกิจพิทยา"
  • ปวีณวัสสา บำรุงอุดมรัชต์ โรงเรียนสตรีนนทบุรี
  • ชนิดาภา งาเนียม โรงเรียนสตรีนนทบุรี
  • พัชมณฑ์ จงชนะชววัฒน์ โรงเรียนสตรีนนทบุรี
  • อรวรา พิมพ์ศิริ โรงเรียนสตรีนนทบุรี
  • ณรงค์ธรรม ทองสุขแสงเจริญ โรงเรียนสตรีนนทบุรี

คำสำคัญ:

ทฤษฎีพหุปัญญา, การพัฒนาการเรียนรู้, ความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และดัชนี ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามทฤษฎีพหุปัญญา 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา ตามทฤษฎีพหุปัญญา โรงเรียน มัธยมขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีประชากรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 2,471 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 350 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ของการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามทฤษฎี พหุปัญญา ที่ผ่านการสังเคราะห์งานวิจัย จำนวน 18 หัวข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับที่ 0.973 และแบบสัมภาษณ์กำหนดประเด็นจากลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด 3 ลำดับแรก ประกอบด้วย ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ปัญญาด้านภาษา และปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามทฤษฎีพหุปัญญาในภาพรวมเท่ากับ 3.46 และ 4.44 ส่วนดัชนีความต้องการจำเป็นที่มากที่สุดของการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ตามทฤษฎีพหุปัญญา มีค่าเท่ากับ 0.379 คือ ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ รองลงมาคือ ปัญญาด้านภาษา ปัญญา ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง เท่ากับ 0.299, 0.283, 0.275 และ 0.232 ตามลำดับ
2. แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตามทฤษฎีพหุปัญญาจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 5 ท่าน โดยคัดเลือกด้านที่มีดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) สูงสุด 3 อันดับแรกคือ ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์มี 5 แนวทาง ปัญญา ด้านภาษามี 8 แนวทาง ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว มี 6 แนวทาง รวมทั้งสิ้น 19 แนวทาง


References

จรัสศรี ศรีโภคา, วรศิษฎ์ ศรีบุรินทร์ และอาทิตย์ ปัญญาคา. (2563). ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 14(50): 97-105. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/219071

ชยานันต์ ยอดคีรี และวิไล พลพวก. (2567). ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิค การสะท้อนคิดต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 6(2): 182-196. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/269083/184117

วรรณชลี โนริยา, นงลักษณ์ ยอดมงคล, สัจจวัฒน์ จารึกศิลป์, วิไลวรรณ สิริสุทธิ์, ช่อฉัตร สุนทรพะลิน และวีระศักดิ์ พุทธาศรี. (2566). การจัดการกีฬาและการส่งเสริมการออกกำลังกายแบบองค์รวมภายใต้แนวคิดโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 15(3): 57-72. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/261653

วรรณศิรินทร์ ภูฉายา, ณัฐกรานต์ สุระภา, ชนิษฐา คลังใหญ่, นิตยา จันตะคุณ และอรุณี จันทร์ศิลา. (2561). การศึกษาระดับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยใช้หลักการตรรกศาสตร์คลุมเครือ. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 4(1): 98-114. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/114464

ศุภกิตติ สิทธิบุญ, สุดาพร พงษ์พิษณุ และสุพจน์ เกิดสุวรรณ์. (2566). ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะเอาชีวิตและอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหอวัง. วารสารการวัดผลการศึกษาสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. 40(107), 84-96. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/266086

สมพร โกมารทัต. (2562). กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของผู้เรียนศตวรรษที่ 21. วารสารสุทธิปริทัศน์. 33(105): 187-197. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/218275/151194

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gardner, H. (1993). The Theory of Multiple Intelligences. Multiple Intelligent: The Theory in Practice. United States of America: Basic Book.

Krejcie. R. V. & Morgan. E. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610. from https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/001316447003000308

United Nations. (2019). World Population Prospects 2019. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://population.un.org/wpp/Publications/Files/WPP2019_Highlights.pdf (2022, 24 September 24)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024