การพัฒนาเครื่องย่อยกิ่งไม้ ใบไม้

Main Article Content

พรชัย แย้มบาน
จรัญ ทวยจันทร์
ทรงศักดิ์ ลือจันดา

บทคัดย่อ

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องย่อยกิ่งไม้ ใบไม้ เพื่อลดปัญหาการเผาทำลายและเหลือทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ของวัสดุทางการเกษตร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิเช่น ทำอาหารสัตว์ ทำปุ๋ยชีวภาพ หรือแม้กระทั้งใช้ปลูกต้นไม้  ผู้จัดทำได้ออกแบบสร้างเครื่องย่อยกิ่งไม้ ใบไม้  โดยลักษณะเด่น 4 ลักษณะ คือ 1. มีดชุดใบมีดที่ย่อยกิ่งไม้ แบบหน้าจาน มี 3 ใบมีด  2. ชุดใบมีดย่อยใบ ระบบ ใบมีดหมุน และใบมีดย่อยอยู่กับที่  3.ขนาดรูตะแกรงมีขนาด 12 มิลลิเมตร  4. เครื่องมีความปลอดภัยในการใช้งาน   แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเครื่อง จำนวน 10  ท่าน ผลปรากฏว่า เครื่องมีการออกแบบ เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49  ด้านการสร้างเครื่อง เฉลี่ยอยู่ ระดับ  4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.31   และด้านการใช้งาน เฉลี่ยที่ระดับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47   เฉลี่ยรวม อยู่ที่ระดับ 4.16  อยู่ในระดับ มาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 แสดงว่าเครื่องย่อยกิ่งไม้ ใบไม้ ที่สร้างขึ้นด้านการใช้งาน   และได้ทดลองหาสมรรถนะของเครื่องโดยนำกิ่งไม้และใบไม้  แยกเป็นกิ่งไม้และ ใบไม้สด กับกิ่งไม้ ใบไม้แห้ง  โดยการวัดปริมาตรของเศษกิ่งไม้ ใบไม้ การทดสอบสมรรถนะการย่อยจะทดสอบชนิดละ 5 ครั้ง  ใช้เวลาครั้งละ 10 นาที  ทำการย่อยกิ่งไม้ ใบไม้ ตามเวลาที่กำหนด จากนั้น ใช้ภาชนะวัดปริมาตรของเศษกิ่งไม้ ใบไม้  แล้วบันทึกผลการทดลอง  ผลปรากฏว่าเครื่องย่อยกิ่งไม้ใบ ใบไม้ สามารถย่อยกิ่งไม้สดได้ 0.501 ลูกบาศก์เมตร /ชั่วโมง กิ่งไม้แห้งได้ 0.438 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง  ใบไม้สด 0.307 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ใบไม้แห้งได้ 0.317 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง 


และค่าเฉลี่ยที่เครื่องย่อยกิ่งไม้ ใบไม้ที่สร้างขึ้นสามารถย่อยได้ปริมาณ 0.391 ลูกบาศก์เมตร /ชั่วโมง  จึงสรุปได้ว่าเครื่องย่อยกิ่งไม้ใบไม้มีสมรรถนะที่ดีสอดคล้องกับเกณฑ์ และสามารถนำไปใช้งานได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1]จารุวัฒน์ มงคลธนาทรรศ, และวีระ สุขประเสริฐ, 2536 ,กลุ่มงานทดลองและพัฒนาเครื่องจักรกล เกษตร , กองเกษตรวิศวกรรมเขต 5 จังหวัดขอนแก่น.
[2]จันทรา ประเสริฐสกุล , 2539 , สถิติ 1 , พิมพ์ครั้งที่ 1, ถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตขอนแก่น.
[3]ฉัตรชัย กองทอง, เลิศศักดิ์ เป้ากลางไพร, และศุภชัย บุบผาชาติ , 2553 , การออกแบบและสร้าง เครื่องหยอดเมล็ดข้าวแบบ 6 แถว , โครงงานทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[4]ชนะ กสิภาร์ , 2528 , ความแข็งแรงของวัสดุ , พิมพ์ครั้งที่ 9 โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ .
[5]ชลัท อุยถาวรยิ่ง , 2551 , ชิ้นส่วนเครื่องกล , พิมพ์ครั้งที่ 1 (ฉบับปรับปรุง) , สำนักพิมพ์เอมพันธ์ .
[6]ณรงค์ โทณานนท์ , ศิริ เจือวิจิตรจันทร์, สุชาติ ไทยเพ็ชร และศักดิ์พิชิต จุตฤกษ์ , 2528 , ไม้เนื้อแข็ง ของประเทศไทย , เล่ม 1 , พิมพ์ครั้งที่ 2 , กองศึกษาผลิตผลป่าไม้ .
[7]นพรุจน์ วงศ์ด้วง, ยุรนันท์ จันทะคูณ, และอนนต์ ลุนรินทร์ 2553 , การสร้างเครื่องสับกาบมะพร้าว ,โครงงานทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[8]บรรเลง ศรนิล , และกิตติ นิงสานนท์ , 2524 , การคำนวณและการออกแบบเครื่องกล , สำนักพิมพ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[9]บรรเลง ศรนิล , และประเสริฐ ก๊วยสมบูรณ์ , 2524 , ตารางโลหะ , พิมพ์ครั้งที่ 1 ,โรงพิมพ์สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[10]วริทธิ์ อิ๊งภากรณ์, และชาญ ถนัดงาน , 2531 , การออกแบบ เครื่องจักรกล , พิมพ์ครั้งที่ 7 , ซีเอ็คยูเคซั่น จำกัด.
[11]สมฤกษ์ อินทร์เจริญ , 2546 , การสร้างเครื่องสับต้น ข้าวโพดอ่อน , สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.