การใช้ชุดการเรียนรู้แบบ C-PBL21 สำหรับกิจกรรมโครงการภายใต้การนิเทศของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม

Main Article Content

มงคล แสงอรุณ
ชฎารัตน์ สุขศีล

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ C-PBL21 สำหรับกิจกรรมโครงการภายใต้การนิเทศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม และ 2) สำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ชุดการเรียนรู้แบบ C-PBL21 สำหรับกิจกรรมโครงการภายใต้การนิเทศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดการเรียนรู้ C-PBL21 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนรู้ C-PBL21 ผลการวิจัยพบว่า


       1) การทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ C-PBL21 สำหรับกิจกรรมโครงการภายใต้การนิเทศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม สามารถนำขั้นตอนการใช้งานของชุดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่  การเตรียมตัวผู้เรียน การสำรวจชุมชน การวิเคราะห์การตัดสินใจ การวางแผนกิจกรรม การลงมือปฏิบัติ การสรุปเพื่อการนำเสนอ และการต่อยอดองค์ความรู้ มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโครงการภายใต้การนิเทศได้


2) ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียน ต่อชุดการเรียนรู้ C-PBL21 พบว่า ความพึงพอใจ โดยรวมต่อชุดการเรียนรู้ C-PBL21 อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.61, S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ขั้นการเตรียมผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.56, S.D. = 0.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ.
[2] วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑.-- กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, 2555.
[3] ชมรมพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 .คุณค่าของครูยุคใหม่. 2559. กรุงเทพฯ.