เครื่องล้างทำความสะอาดชุดคอยล์เย็นและตรวจสภาพด้วยกล้อง Snake Scope

Main Article Content

ชินภัทร แก้วโกมินทวงษ์
ชินภัทร แก้วโกมินทวงษ์
ภาณุกร ภูมิลา
สุชาวัชร์ ธรรมจารุรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบสร้างและหาประสิทธิภาพ เครื่องล้างทำความสะอาดชุดคอยล์เย็นและตรวจสภาพด้วยกล้อง Snake Scope กำหนดใช้เหล็กกล่องขนาด 2 นิ้ว กว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 59 x 58.5 x 70 เซนติเมตร พร้อมด้วยอุปกรณ์ ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบอุณหภูมิและความเร็วลม ก่อนล้างและหลังล้างทำความสะอาดชุดคอยล์เย็น โดยใช้เครื่องวัดความเร็วลมและตรวจ จับอุณหภูมิ รุ่น DA 40 ทำการวัดอุณหภูมิ และความเร็วลมภายในห้องโดยสารรถยนต์ ในตำแหน่งความเร็วพัดลมที่ 1-4 และจับเวลาทุกๆ 1 นาที จนครบ 5 นาที โดยเริ่มต้นการทดลองใช้กล้อง Snake Scope ตรวจสอบความสกปรก ของชุดคอยล์เย็นก่อนทำการล้าง และใช้น้ำฉีดล้างทำความสะอาดชุดคอยล์เย็น จากปั๊มแรงดันต่ำ ประมาณ 35 บาร์  เพื่อล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรก ที่เกาะติดอยู่ที่ชุดคอยล์เย็นให้เกิดการอ่อนตัว ใช้น้ำยาล้างทำความสะอาดชุดคอยล์เย็น ฉีดล้างทำความสะอาด และทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที เสร็จแล้วใช้น้ำฉีดล้างทำความสะอาดอีกครั้ง และใช้ลมเป่าชุดคอยล์เย็นให้แห้ง  จากนั้นใช้กล้อง Snake Scope ตรวจสอบความสะอาดของชุดคอยล์เย็นอีกครั้ง ผลการวิจัยพบว่าตำแหน่งที่ 1 อุณหภูมิลดลง 1.2˚C ความเร็วลมสูงขึ้น 2.2 m/s ตำแหน่งที่ 2 อุณหภูมิลดลง 1.5˚C ความเร็วลมสูงขึ้น 1.7 m/s ตำแหน่งที่3 อุณหภูมิลดลง 1.3˚C ความเร็วลมสูงขึ้น 10.8 m/s ตำแหน่งที่ 4 อุณหภูมิลดลง 4.2 ˚C ความเร็วลมสูงขึ้น 3.9 m/s จากการเปรียบเทียบอุณหภูมิและความเร็วลมหลังล้างชุดคอยล์เย็นพบว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบปรับอากาศรถยนต์นั้นดีขึ้น  อุณหภูมิลดต่ำลงและมีความเร็วลมสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนล้างแล้วมีผลแตกต่าง  อยู่ที่  32%


  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ชนัตพล วิโชติกรุงไกร. 2548, การสร้างและหาประสิทธิ ภาพชุดฝึกอบรมเครื่องปรับอากาศรถยนต์, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[2] ธรรมฤทธิ์ วนิชเรืองชัย. 2554, การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมอาชีพช่างซ่อมเครื่องปรับ อากาศรถยนต์, บทความวิจัย ปีที่ 23 ฉบับที่ 78 เมษายน-มิถุนายน 2554, พัฒนาเทคนิคศึกษา หน้า 83.
[3] วีระศักดิ์ มะโนน้อม, 2549, งานปรับอากาศรถยนต์, กรุงเทพฯ : เอมพันพ์.
[4] สวัสดิ์ บุญเถื่อน, 2541, เครื่องปรับอากาศรถยนต์, กรุงเทพฯ : ซีเดยูเคชั่น.
[5] สมศักดิ์ สุโมตยกุล, 2545, เครื่องปรับอากาศรถยนต์, กรุงเทพฯ : ซีเดยูเคชั่น.
[6] สนอง อิ่มเอม, 2528, เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศรถยนต์, กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์.
[7] ทวีผล แปงณีวงค์, 2553, การลดการใช้พลังงานใน ระบบปรับอากาศรถยนต์โดยการซับคูล, วารสารวิจัย ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2553, หน้า 78-91: http://ird.rmutto.ac.th [23 กุมภาพันธ์ 2560].
[8] นัฐวุฒิ มงคล, 2554, ชุดฝึกปฏิบัติระบบปรับอากาศ รถยนต์, ปริญญานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน, หน้า 15-25.
[9] อัคครัตน์ พูลกระจ่าง, 2553, การหาประสิทธิภาพระบบทำความเย็นแบบระเหยชนิดโดยตรงและโดยอ้อม, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[10] เครื่องล้างแอร์รถยนต์ คลูเทค (Cool-Tex) สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2560 http://www.autocare.co.th/cool-tex.php.