การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ในการเขียนโปรแกรมงานระบบอุตสาหกรรมและงานคลังสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยการสอนบน Padlet
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้านการเขียนโปรแกรมงานระบบอุตสาหกรรมและงานคลังสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม ที่เรียนวิชาการเขียนโปรแกรมแบบวิชวล เรื่องการเขียนโปรแกรมงานระบบอุตสาหกรรมและงานคลังสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม ผ่านการสอนบนเว็บเครือข่าย Padlet และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องชั้นปีที่ 2 ของสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวัฒนาบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2559 โดยแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนด้วยการสอนบนเว็บเครือข่าย Padlet กับกลุ่มที่ไม่ได้เรียนด้วยการสอนบนเว็บเครือข่าย Padlet กลุ่มละ 30 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสอนบนเว็บเครือข่าย Padlet แผนการเรียนรู้ แบบทดสอบความสามารถการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ Paired Sample t-test ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ พบว่า การสอนบนเว็บเครือข่าย Padlet มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.24/80.11 นักศึกษากลุ่มที่จัดการสอนบนเว็บเครือข่าย Padlet มีคะแนนความสามารถคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักศึกษากลุ่มที่ไม่ได้จัดการสอนบนเว็บเครือข่าย Padlet อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05
Article Details
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
[2] Harwell, M. R., Post, T. P., Cutler, A., Maeda, Y, Anderson, E., Norman, K. W., & Medhanie, A. , “The preparation of students from National Science Foundation-funded and commercially developed high school mathematics curricula for their first university mathematics course”. American Educational Research Journal, Vol. 46, pp. 203–231, 2009.
[3] ปวัฒวงศ์ บำรุงขันท์, ภุชงค์ จันทร์จิระ, นิกูล ชุ่มมั่น และปัญจพงษ์ เจริญศรี, “การพัฒนานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเรื่องการคิด วิเคราะห์เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”, วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, ปีที่ 10 ฉบับที่ 2, พ.ศ.2559, หน้า 9-19.
[4] วิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์และวชิระ อินทร์อุดม,“ผลของการสอนบนเว็บที่มีต่อการพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2”, วา ร สา ร ศึ ก ษา ศา ส ต ร์, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2, พ.ศ.2554,หน้า 107-112.
[5] ไพรัชนพ วิริยวรกุล และดวงกมล โพธิ์นาค, “Google Apps for Education นวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัล”, วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 7 ฉบับที่ 3, พ.ศ.2557, หน้า 103-112.
[6] มนต์ชัย เทียนทอง, นวัตกรรม:การเรียนและการสอนด้วยคอมพิวเตอร์, สำนักพิมพ์แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น กรุงเทพฯ, พ.ศ.2556
[7] ใจทิพย์ ณ สงขลา, วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์, สำนักพิมพ์ศูนย์ตำราและเอกสารทางราชการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ.2550