ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนกับผลการดำเนินงาน ของธุรกิจ SMEs จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

รัตนัย จันทร์สำราญ
โคมทอง ไชยสิทธิ์
ประภาพร ชั้นงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนกับผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs จังหวัดอุดรธานี โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี จำนวน 352 คน ดำเนินการจัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ถึงกลุ่มตัวอย่างในเขตพื้นที่เป้าหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560 จำนวน 352 ฉบับ เพื่อขอความอนุเคราะห์และความร่วมมือในการส่งแบบสอบถามกลับทางไปรษณีย์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแบบสอบถาม เมื่อครบกำหนด 15 วัน ได้รับแบบสอบถามกลับมาจำนวน 74 ฉบับ และเมื่อครบกำหนดวันที่ 30 ตุลาคม 2560 ได้รับแบบสอบถามตอบกลับคืนมาอีก 41 ฉบับ รวมแบบสอบถามที่ได้รับตอบกลับทั้งสิ้น 115 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 32.67 ส่งคืนจำนวน 3 ฉบับ เนื่องจากไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า รวมระยะเวลาในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล 153 วัน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุน ด้านการวางแผนและควบคุม และด้านการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2551). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยต้องการสร้างความเชื่อมโยงภายในอุตสาหกรรมและเพิ่มการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงนั้นอุตสาหกรรมเวฟอร์.
[2] ชลธิชา คุณอุดม. (2552). ผลกระทบของประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตภาคกลาง. วิทยา นิพนธ์ บธ.ม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[3] พรชัย วีระนันทาเวทย์. (2552). ผลกระทบของประสิทธิผลการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในภาคกลาง.
[4] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยา สาส์น.
[5] เดชา อินเด. (2547). การบัญชีต้นทุน.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
[6] ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2555). องค์กรที่ประสบความสำเร็จเขาบริหารคนกันอย่างไร. ม.ป.ป.
[7] อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2553). ความหมายการบัญชีต้นทุน. ม.ป.ป.
[8] ไตรรงค์ สวัสดิกุล. (2548). การบัญชีเพื่อการจัดการ. มหาสารคาม : คณะการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัย.
[9] พสุ เดชะรินทร์. (2551). Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[10] ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการพฤติกรรมองค์การ. ไซเท็กซ์ จำกัด.